ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด

ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด


ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด มีข้อแตกต่างกันดังนี้


1. การก่อตั้ง

  - นิติบุคคลอาคารชุด : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย     
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
 
2. วัตถุประสงค์

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  กิจกรรมเพื่อดูแลทรัพย์ส่วนกลาง ไม่มุ่งค้าหากำไร 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  กิจกรรมการค้าเพื่อมุ่งค้าหากำไร 
 
3. ผู้ก่อตั้ง

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  เมื่อมีเจ้าของร่วมมากกว่า 1 รายในอาคารชุด
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ผู้ก่อการ 7 ท่าน
 
4. ผู้เป็นเจ้าของ

   - นิติบุคคลอาคารชุด :  เจ้าของร่วมทั้งหมด ในอาคารชุด 
   - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ 

5. ผู้มีอำนาจผูกพันธ์

   - นิติบุคคลอาคารชุด : ผู้จัดการนิติบุคคล (เลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่)
   
- นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : กรรมการผู้จัดการ หรือ กรรมการ ที่บริษัทฯ กำหนด
 
6. ผู้บริหาร

   - นิติบุคคลอาคารชุด :  กรรมการอาคารชุด (เลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่)
- นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  กรรมการบริษัทฯ
 
7. ด้านภาษี

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ไม่ต้องยื่นภาษีประจำปี 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ต้องยื่นภาษีประจำปี 

8. ด้านบัญชี /การเงิน

  - นิติบุคคลอาคารชุด : รับรองงบดุล/ บัญชี โดยที่ประชุมใหญ่ ไม่ต้องส่งงบดุลให้กับหน่วยงานภาครัฐ 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบรับอนุญาติ ส่งงบดุลให้กับหน่วยงานภาครัฐ 

9. การบริหารการเงิน

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  ตามนโยบายคณะกรรมการ และข้อบังคับ
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ตามนโยบายของผู้บริหาร
 
10. กฎหมายหลักที่บังคับใช้

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2551  (ฉบับที่4 )  
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : www.thaicondoonline.com
ประกาศบทความโดย : http://www.prosmes.com
 664
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์