สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้


ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี   

แต่ไม่ต้องกลัว บทความนี้เราได้สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และหลักการทางภาษีสําหรับกิจการ SMEs ทั่วไป หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) มาไว้ให้แบบย่อๆ เพื่อผู้ทำบัญชีทุกท่านให้มองเห็นภาพรวมของความแตกต่าง สำหรับแต่ละรายการในงบการเงินได้ง่ายขึ้นค่ะ

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี VS หลักการทางภาษีสำหรับกิจการ NPAEs

1. เรื่องทั่วไป ในที่นี้เราพูดถึงภาพรวมของงบการเงิน หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชี หรือว่าเปลี่ยนประมาณการทางบัญชี สิ่งที่ต้องทำตามมาตรฐาน คือ ปรับปรุงรายการ และเปิดเผยในงบการเงิน ส่วนทางภาษีนั้นยุ่งยากหน่อยตรงที่ว่า บางเรื่องต้องขออนุมัติจากสรรพากร และต้องแก้ไข ภงด.50 ที่เคยยื่นไปย้อนหลังนะคะ



2. งบแสดงฐานะการเงิน
ในงบแสดงฐานะทางการเงิน มีหลากหลายหัวข้อที่แตกต่างกันระหว่างบัญชีและภาษี เช่น การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ การตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ การตีราคาเงินลงทุน การคิดต้นทุนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงการคิดค่าเสื่อม ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ






3. งบกำไรขาดทุน ตัวอย่างขอข้อแตกต่างระหว่างบัญชีและภาษีที่เห็นได้ชัดของงบกำไรขาดทุน เช่น การรับรู้ต้นทุนการกู้ยืม การรับรู้สัญญาเช่าดำเนินงานและการเงิน ประมาณการหนี้สินต่างๆ การรับรู้รายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น สัญญาก่อสร้าง การขายอสังหาริมทรัพย์ ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ







ความแตกต่างทางบัญชีและภาษี ถ้าศึกษาดีๆ แล้วแตกต่างกันในหลายๆ จุดเลยค่ะ หากอยากเข้าใจมากยิ่งขึ้น แนะนำว่าลองประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง และหมั่นทบทวนความรู้อยู่เรื่อยๆ ก่อนที่จะถึงเวลาคำนวณภาษีตอนปลายปี หรือลองเข้าอบรมในคอร์ส “สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี สําหรับกิจการ NPAEs”  เพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : thaicpdathome.com
 1680
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน
มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์