เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี

เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี


ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า

“นักกฎหมาย เปรียบเสมือน เหยี่ยว” : “นักบัญชี เปรียบเสมือน นกพิราบ”

อย่างไรก็ตามนักบัญชีก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องของกฎหมาย แม้จะไม่มีความจำเป็นถึงกับจะต้องสามารถอ้างมาตราของกฎหมายได้ในทุกครั้ง แต่นักบัญชีก็จะต้องรู้ว่าเรื่องที่จะต้องทำของงานบัญชีนั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง

กฎหมายและข้อปฏิบัติหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ที่นักบัญชีจำเป็นต้องรู้
  1. พระราชบัญญัติการบัญชี 2543
  2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547
  3. ประกาศกรมทะเบียนการค้า (ที่ยังมีผลบังคับอยู่)
  4. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  6. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
  7. ประมวลรัษฎากร
  8. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
  9. มาตรฐานการบัญชี (ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย)
  10. ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๖๑
  11. ข้อกำหนดอื่น(ที่อาจมี อันเกิดจากลักษณะเฉพาะของแต่ละประเภทธุรกิจที่ต้องมีกฎหมายเฉพาะในการควบคุม)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.greenprokspforsme.com  หรือ Click
 551
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งจากผู้ประกอบการ และนักบัญชีเองนั้นมีมากมายหลากหลายคำถาม ในบทความนี้ เราได้สำรวจและรวบรวม 5 คำถามยอดฮิต พร้อมคำตอบมาให้เพื่อนๆ กันค่ะ คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ว่านั้น จะมีเรื่องอะไรบ้างลองไปดูกันค่ะ
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์