เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร

เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร


อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่า #เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
 
ที่เป็นเช่นนี้ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ   

1. ไม่ทราบว่าต้องเสียภาษีประเภทไหน เพราะเปิดเป็นร้านขายของธรรมดาปกติ จึงไม่ทราบว่ารายได้ที่มีเข้าเกณพ์เสียภาษีหรือไม่
2. ไม่ได้ติดตามข่าวสารภาษี ทุกทีที่เสียภาษีก็ประเมินคร่าว ๆ
 
หากปล่อยให้ไม่มีความเข้าใจในเรื่องการรับรู้รายได้ของกรมสรรพากร เช่นนี้ต่อไป จะทำให้กิจการหรือร้านค้าของคุณไม่ได้ยื่นภาษีตามที่สรรพากกำหนด เพราะคิดว่ากิจการขายของธรรมดา รายได้ไม่น่าถึงยอดที่สรรพกรกำหนด สุดท้ายละเลยหน้าที่ผู้เสียภาษีที่ดี รู้ตัวอีกที ก็มีหนังสือเชิญเข้าพบ จุดจบคือถูกประเมินภาษีโดยเจ้าหน้าที่ ค่าใช้จ่ายตามมาที่มีอาจเป็นค่าปรับ พร้อมกับเงินเพิ่ม คุณคงต้องรู้สึกไม่สบายใจ ที่ต้องไปพบกับเจ้าหน้าที่ เพราะคำตอบที่มีอาจไม่ชัดเจน ใช่มั้ยคะ
 
เราคนไทยทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าผู้ใดมีเงินได้ผู้นั้นเป็นผู้หน้าที่เสียภาษีเงินได้ แต่เชื่อว่าหลายท่านยังไม่รู้เลยว่า เราจะต้องเสียภาษีจากยอดอะไร และเจ้าหน้าที่สรรพากรนั้นจะรับรู้รายได้ของเราได้อย่างไร
 
ต่อไปนี้คือ 5 ช่องทางที่เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามี ตามไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

1. มีหน้าร้าน แน่นอนอยู่แล้วเมื่อเรามีหน้าร้าน ทางเจ้าหน้าที่สรรพากรก็สามารถเข้ามา เพื่อนับจำนวนการขายต่อวัน และประมาณการรายได้ของเราที่หน้าร้านได้เลยค่ะ อย่างเช่นร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าส่ง หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต
2. ประเมินรายได้จากการที่กิจการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราให้บริการกับลูกค้า แล้วถูกลูกค้าที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ แล้วนำส่งให้สรรพากร ทางสรรพากรก็จะรับรู้รายได้ก้อนนั้นทันทีที่ถูกนำส่งค่ะ กรณีนี้จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ให้บริการกับลูกค้าที่เป็นบริษัทแล้วถูกหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง แต่ผู้ประกอบการรายนี้ไม่มีความรู้เรื่องภาษี จึงไม่เคยยื่นแบบเสียภาษี สุดท้ายถูกประเมินภาษีย้อนหลัง และเข้าข่ายต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วยค่ะ

3. ธุรกิจออนไลน์ ที่มีการ Live สด กรณีนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรสามารถเข้าดู Live สด และนับยอดการ Live ได้ค่ะ

4. กฏหมาย #ภาษีอีเพย์เมนต์ พ.ศ. 2562 หรือกฏหมายเงินเข้าบัญชีธนาคาร
ซึ่งมี 2 เงื่อนไข ดังนี้ค่ะ
  4.1 เงื่อนไขที่ 1 เงินเข้าทุกบัญชี 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
  4.2 เงื่อนไขที่ 2 เงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี ขึ้นไป (ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาท)
 5. ขายของ Shoopee, Lazada กรณีนี้จะมีแจ้งยอดที่ขายได้อยู่ในระบบ พร้อมราคาสินค้าแต่ละชนิด ทำให้เจ้าหน้าที่สรรพากร สามารถประมาณรายได้ของร้านค้าหรือกิจการได้ค่ะ
 
และเมื่อคุณทราบแล้วว่า เจ้าหน้าที่สรรพากรรับรู้รายได้ของเราจากช่องทางไหน คุณเองก็จะประมาณรายได้ของตัวเองที่ต้องเสียภาษีได้ เพื่อจะได้วางแผนการเงิน และในเรื่องการยื่นชำระภาษีต่อไปค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link

 556
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
สิ่งสำคัญของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่ไม่ใช่นักการบัญชี อาจมองถึงผลกำไรของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารด้านการตลาดซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่หากไม่มีข้อมูลตัวเลขจากการจัดทำบัญชี ก็คงไม่สามารถวิเคราะห์และนำมาพิจารณาเพื่อจะนำไปบริหารเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม  เรามีคำแนะนำ 10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชีบริการรับทำบัญชีมาให้เป็นแนวทางดังนี้ 
ส่วนลดจ่าย หรือค่าลดหย่อน การส่งเสริมการขายแคมเปญการขาย Flexi comBo Flash Sale  การขายแบบให้ส่วนลดลูกค้าหลังจากนั้นช่องทางการขายจะโอนส่วนลดที่ให้ลูกค้าคืนกลับให้บริษัท เป็นรายการที่พบเจอได้ตลอดเวลาสำหรับร้านค้า Online  ที่ขายสินค้าบน  MarketPlaces  ต่างๆ ทั้งนี้สรรพากรมีหลักการในการออกส่วนลดให้ปรากฎในใบกำกับภาษีไว้ดังนี้
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชี มาจากลูกค้า มาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงาน ทั่วประเทศไทย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์