ย้ายสถานที่ประกอบการ ใบกำกับภาษีเดิมใช้ได้หรือไม่

ย้ายสถานที่ประกอบการ ใบกำกับภาษีเดิมใช้ได้หรือไม่


กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่

หลักเกณฑ์การปฏิบัติเมื่อย้ายสถานที่ประกอบการ

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามที่อยู่ที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
  • กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

กรณีได้รับใบกำกับภาษีที่ยังระบุที่อยู่เดิม

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่มีสิทธินำใบกำกับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อ เนื่องจากเป็นใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์

วิธีแก้ไข

  • ต้องร้องขอให้ผู้ออกใบกำกับภาษีดำเนินการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยให้ระบุที่อยู่ให้ถูกต้อง จึงจะมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ สามารถดำเนินการได้ดังนี้

  1. ให้บริษัทฯ ถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้และส่งมอบใบกำกับภาษีฉบับเดิมให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษี
  2. ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีนำใบกำกับภาษีฉบับเดิมมาประทับตราว่า "ยกเลิก" หรือ "ขีดฆ่า" แล้วเก็บรวบรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่และจะต้องลงวัน เดือน ปี ให้ตรงกับวัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิมพร้อมทั้งหมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า "เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่..... เล่มที่....."
  3. ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ หมายเหตุการณ์ยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.twentyfouraa.com
 1678
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์