13 สิ่งต้องมีในบัญชี ห้ามขาด ห้ามหาย

13 สิ่งต้องมีในบัญชี ห้ามขาด ห้ามหาย

3 รายการสำคัญที่ต้องมี เพื่อความสมบูรณ์ของบัญชี ผู้จัดทำบัญชีทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า โดยประเด็นสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือเรื่องของ “ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี” แบ่งตามประเภทบัญชี ดังนี้

ปกด้านหน้าของสมุดบัญชีหรือแผ่นหน้าของบัญชี ต้องมีรายการต่อไปนี้

  1. ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือชื่อทางการค้า
  2. ชนิดของบัญชี
  3. ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิด โดยต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน

บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีรายการต่อไปนี้

  1. ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีและจำนวนเงิน
  2. หน้าบัญชี
  3. รายการในบัญชี

นอกจากต้องมีรายการตามที่กำหนดในข้อ 4-6 แล้ว บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีรายการเพิ่มเติมต่อไปนี้ด้วย โดยแยกตามบัญชีได้ดังนี้

บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไป ของเงินสด เงินในธนาคาร

หากมีอยู่ในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันแล้ว จะลงรายการรับ หรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้

บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้า บริการที่ซื้อขาย

หากมีอยู่ในเอกสารประกอบการลงบัญชี จะลงรายการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้น เป็นยอดรวมก็ได้

บัญชีรายวันทั่วไป (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. คำอธิบายรายการบัญชี

บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดที่มาของรายได้หรือค่าใช้จ่าย

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. ชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ รายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีสินค้า เพิ่มเติม ดังนี้

  1. ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปของสินค้า และจำนวนสินค้านั้น 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : www.dharmniti.co.th

 471
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์