วงจรในการจัดทำบัญชี

วงจรในการจัดทำบัญชี



ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ความเข้าใจในลักษณะของธุรกิจ

ถึงการจะจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องได้นั้น หัวใจสำคัญคือนักบัญชีต้องมีความเข้าใจในธุรกิจก่อน ธุรกิจที่เราจะต้องจัดทำบัญชีนั้นเป็นธุรกิจประเภทไหน ซื้อมาขายไป ผลิตสินค้า บริการ หรือธุรกิจเฉพาะ เช่นอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม โรงพยาบาล แบบนี้เป็นต้น ดังนั้นเมื่อบริษัทรับพนักงานบัญชีจบใหม่เข้ามาทำงาน ทางหัวหน้างานควรแนะนำให้ความรู้ลักษณะของธุรกิจแก่พนักงานบัญชีจบใหม่

2. ความเข้าใจโครงสร้างองค์กร/ฝ่ายและแผนกต่าง ๆ

ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะงานบัญชีต้องมีการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน ดังนั้นพนักงานบัญชีจบใหม่ เมื่อเข้ามาทำงานจึงควรเรียนรู้โครงสร้าง หน้าที่งานของแต่ละฝ่ายแต่ละแผนก และทำความเข้าใจ

3. ความเข้าใจกระบวนทำงานในกิจกรรมงานต่างๆ ของแต่ละฝ่าย/แผนก

พนักงานบัญชีจบใหม่นั้นไม่ใช่เพียงต้องเข้าใจโครงสร้างองค์กร หน้าที่งานของแต่ละฝ่ายแต่ละแผนก แต่ต้องเข้าใจถึงกระบวนการทำงานด้วย ซึ่งตรงนี้คือการเชื่อมโยงที่ต้องนำองค์ความรู้เรื่องระบบบัญชี การควบคุมภายใน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกระบวนการมาประยุกต์กับการทำงานนั้นเอง

4. ความเข้าใจในโปรแกรมบัญชี สนับสนุนการทำงาน

ปัจจุบันนี้กระบวนการทำงานต่าง ๆ จะถูกสนับสนุนโดยการนำเครื่องมือ Tools > โปรแกรมบัญชี มาใช้ ดังนั้นการสอนการใช้โปรแกรมบัญชีให้กับพนักงานบัญชีจบใหม่จึงจำเป็น และต้องมีการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พนักงานบัญชีจบใหม่ที่จะปฏิบัติใช้งานได้อย่างถูกต้อง (ดังนั้นโปรแกรมการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมบัญชี บริษัทควรมีการจัดการอบรมอย่างเป็นระบบ)

5. ความเข้าใจในวิธีการตรวจสอบ

นักบัญชีมีบทบาทหน้าที่สำคัญคือการตรวจสอบ ดังนั้นเรื่องที่ควรสอนนักบัญชีจบใหม่คือวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ทางบัญชีได้รับ ว่าควรตรวจสอบอย่างไร (การตรวจสอบคือ What วิธีการตรวจสอบคือ How to ) และควรสอนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ เมื่อเข้าใจในวัตถุประสงค์การตรวจสอบ ก็เข้าใจได้ง่ายว่าควรใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไร สำหรับวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบต้องเชื่อมั่นได้ว่าเอกสารหลักฐานที่ได้รับเพียงพอ เชื่อถือได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และผ่านการอนุมัติจากผู้มีอำนาจนั่นเอง


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : https://www.dst.co.th/

 329
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่าและเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
เมื่อเอกสารหายก่อนอื่นคือต้องรีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานก่อนไปทำ เอกสารใหม่ที่หน่วยงานเอกสารต้นสังกัดนั้น การติดต่อราชการที่รู้สึกเสียเวลายุ่งยาก ยิ่งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งจะอยู่ในชีวิตของเราอีกนาน ทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกในการติดต่อ แต่ปัจจุบันมี “ระบบแจ้งเอกสารหายออนไลน์” ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องไปโรงพัก เรามาดูการใช้งานระบบใหม่นี้กันนะคะ
เจ้าของธุรกิจทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มักนิยมทำการตลาดผ่านโซเชียล เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและรวดเร็ว แต่เจ้าของธุรกิจอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายจ่ายตรงนี้มากเท่าไหร่
เงินฝากธนาคาร (Bank Commercial) 5 ประเภท มี กี่ แบบ อะไรบ้าง 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์