รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล


การลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้

1.การลดหย่อนภาษีในการนำเงินรายจ่ายมาหักออก 2 เท่า

สำหรับนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งมีรายได้จากการขายสินค้า/บริการในรอบปีภาษีนั้นไม่เกินจำนวน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจการมาหักออกเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า ไม่ว่าจะเป็นค่าสอบบัญชี ค่าจัดทำบัญชี โดยสามารถนำค่ารายการเหล่านี้ในเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

2.การลดหย่อนภาษีสำหรับการเพิ่มรายจ่ายในรอบปีภาษีนั้น

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี มีได้หลายรายการ เช่น

1.เงินบริจาคที่ได้บริจาคในนามของนิติบุคคล

2.การจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือ ค่าจ้างนั้นต้องมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน/คน และต้องมีจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น

3.ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานในนิติบุคคลนั้น

4.ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน อันเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการดำเนินหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร แต่ทั้งหมดนี้มีเงื่อนไขว่านิติบุคคลนั้นจะต้องมีสินทรัพย์ถาวรจำนวนไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีจำนวนพนักงานภายในนิติบุคคลไม่เกินจำนวน 200 คน 

การลดหย่อนภาษีสำคัญอย่างไร ?

การเสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งถือว่าเป็น “หน้าที่” ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีเงินได้ จะต้องชำระภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนั้นหากมีการวางแผนการก่อให้เกิดรายจ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง รวมถึงยังสามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักออกจากการคำนวณเงินได้ ตามที่กฎหมายกำหนดยินยอมให้เป็นรายการซึ่งนำมาหักได้แล้ว ก็จะเป็นผลดีต่อผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : LINK

 342
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ
การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ดังนั้นลักษณะของป้ายที่เสียภาษี ? ก็คงเป็นป้ายที่เกี่ยวกับการค้าหรือกิจการหารายได้ต่างๆนั้นเอง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์