รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี

รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี


เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง และจ่ายส่วนที่เหลือเป็นเงินปันผล การจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) หรือหากบริษัทมีแผนนำเงินปันผลไปลงทุนต่อ ปริมาณค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนได้เงินปันผลจัดสรรในปริมาณต่อหุ้นตายตัว โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับการถือหุ้น สำหรับบริษัทร่วมทุน การจ่ายเงินปันผลไม่เป็นค่าใช้จ่าย แต่เป็นการแบ่งรายได้หลังหักภาษีกันของผู้ถือหุ้น กำไรสะสมแสดงในส่วนส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder equity) ในงบดุลของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นทุนที่นำออกจำหน่ายบริษัทมหาชนมักจ่ายเงินปันผลตามกำหนดเวลาตายตัว แต่อาจประกาศเงินปันผลเมื่อใดก็ได้ บางครั้งเรียก เงินปันผลพิเศษ เพื่อแยกกับเงินปันผลตามเวลาตายตัว ตรงข้ามกับสหกรณ์ซึ่งจ่ายเงินปันผลตามกิจกรรมของสมาชิก ฉะนั้นเงินปันผลของสหกรณ์จึงมักจัดเป็นค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษี


โดยทั่วไป การจ่ายเงินปันผลจะจ่ายเป็นเงินไม่ว่าจะกระทำในรูปของเช็คหรือการโอนเงินปันผลเข้าบัญชีของผู้ถือหุ้นแต่ละคนโดยตรง(E-Dividend) แต่บริษัทอาจจ่ายเงินปันผลเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายเป็นหุ้นของบริษัทหรือบริษัทในเครือ กล่าวคือโดยการออกหุ้นโบนัสให้แก่ผู้ถือหุ้น ในกรณีเช่นนี้บริษัทจะต้องดำเนินการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่และโอนเงินกำไรเท่ากับมูลค่าของหุ้นโบนัสเข้าบัญชีทุนของบริษัท ทั้งนี้ แม้บริษัทจะยังค้างจ่ายเงินปันผลอยู่ ผู้ถือหุ้นก็จะคิดดอกเบี้ยเอาแก่บริษัทมิได้2ในทางปฏิบัติ เงินปันผลเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายประเภท โดยผู้เขียนมีกรอบการนำเสนอดังนี้

1. เงินปันผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. เงินปันผลตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
3. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
5. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลำดับรองตามประมวลรัษฎากร
6. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520



Click Download รายละเอียด รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
 334
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด
มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์