Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี

Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี


Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมีดังนี้

1.การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่นเมื่อต้องทำงานเป็นทีม

2.การสื่อสาร (Communication Skills)
เป็นทักษะสำคัญทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปแบบของการพูดคุย เจรจาต่อรอง หรือเป็นลายลักษณ์อักษร

3.การแก้ไขปัญหา (Problem Solving Skills)
นักบัญชีต้องพร้อมรับมือกับปัญหาทุกเวลา และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง เมื่อแก้ปัญหาแล้วต้องรู้วิธีรับมือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก

4.ความเป็นผู้นำ (Leadership Skills)
นักบัญชีควรมีทักษะความเป็นผู้นำติดตัวไว้ เพื่อเสริมความกล้าคิดและการนำเสนองาน และเมื่องานเกิดปัญหาก็สามารถพร้อมให้คำปรึกษาได้เสมอ

5.ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skills)
อย่าหยุดที่จะเรียนรู้และปิดกั้นไอเดียความคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่

6.แรงจูงใจ (Motivation Skills)
สิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงบรรยากาศการทำงานร่วมกันเป็นทีม

7.การปรับตัว (Flexibility and Adaptability Skills)
เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานตามแผนที่ตายตัวนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด นักบัญชีจึงต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพื่อปรับใช้ในการทำงาน

8.ความรับผิดชอบ (Responsibility Skills)
การมีความรับผิดชอบต่องานและหน้าที่ของตัวเอง ที่ได้รับมอบหมายมาอย่างเต็มที่ จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

9.การตัดสินใจ (Decision-Making Skills)
นักบัญชีหากถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ต้องกล้าที่จะตัดสินใจ และยอมรับความเสี่ยงที่จะตามมาเมื่อตัดสินใจในเรื่องนั่นไปแล้ว

10.การบริหารเวลา (Time Management)
การจัดลำดับความสำคัญในการทำงานแต่ละวัน จะทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำเสร็จตามกำหนด แต่ก็อย่าลืมที่จะจัดสรรเวลาในการพักผ่อนด้วย


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!




ขอบคุณที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ
 426
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล
ค่าเบี้ยประกันสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อน สำหรับยื่นแบบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่ไม่ใช่ว่าเบี้ยประกันจากกรมธรรม์ทุกประเภทจะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เสมอไป จะต้องเป็นกรมธรรม์ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้เสียที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้ ต้องทำความเข้าใจถึงค่าเบื้ยประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแยกตามประเภทของเบี้ยประกันดังนี้
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์