มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี

มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี



มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี ไปดูกันในบทความนี้ค่ะ

1. ทำเป็นเงินให้กรรมการกู้ยืมออกไป

*** วิธีนี้มีข้อเสียคือ บริษัทให้กรรมการกู้จะต้องมีการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเงิน เมื่อบริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยรับถือเป็นเงินได้จะต้องเอาไปรวมในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าดอกเบี้ย รับเยอะก็จะเสียภาษีเยอะขึ้น 

2. จ่ายเงินปันผล

การจ่ายเงินปันผลเป็นวิธีที่ดีมากวิธีหนึ่ง เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่จบจริง ไม่เหมือนกับการนำเงินออกจากบริษัทด้วยวิธีให้เงินกรรมการกู้ยืม แต่ผู้ประกอบการไม่นิยมใช้กันเนื่องจาก ทันทีที่บริษัทจ่ายเงินปันผลจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของเงินปันผลที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร สรุปวิธีนี้จะต้องเสียภาษี 10% ให้กรมสรรพากรแต่จบปัญหา

3. ทำเป็นเงินโบนัสให้กับเจ้าของ
1) เงินโบนัสที่จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัท ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงได้มากสุดถึง 20% (ตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละบริษัท)
2) เจ้าของได้รับเงินโบนัส จะถูกนำไปรวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษี
ดังนั้นนักบัญชีจะต้องวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับเจ้าของกิจการ เพื่อให้เสียภาษีให้คุ้มค่าที่สุด มันจะมีจุดที่ทำด้วยวิธีนี้แล้วคุ้มค่าต้องไปคำนวนกันเอง



ขอบคุณที่มา : www.kknaccounting.com

 222
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์