หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่

หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน



ตัวอย่างรายการที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

1. การรับรู้รายได้
2. เจ้าหนี้การเค้า
3. ลูกหนี้การค้า
4. การตีมูลค่าสินค้าคงเหลือ
5. การตัดค่าเสื่อมราคา

ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
1. ใช้ดูจำนวนลูกหนี้การค้า หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องดูเพราะว่ามีลูกหนี้การค้ามากก็แสดงว่ากิจการขายสินค้าและบริการได้ดี แต่ก็ไม่เสมอไปลูกหนี้การค้าหากมีมากจนผิดสังเกตุอาจะเกิดจากกิจการมีลูกหนี้การค้าที่ขาย สภาพคล่องทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้เกิดผลเสียต่อกิจการ ดังนั้นผู้ใช้งบการเงินควรสังเกตตรงจุดนี้ให้ดีว่า ลูกหนี้การค้าเป็นอย่างไร ขายสินค้าอะไร มีความสามารถในการจ่ายหนี้หรือไม่
2. ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
3. เมื่อผู้ใช้งบการเงินเปรียบเทียบอัตราการทำกำไรกับกิจการคู่แข่งแล้วพบว่า กิจการสามารถทำอัตรากำไรได้มากว่าหรือแตกต่างมากๆ อาจจะมีผลมาจากทั้งสองกิจการมีนโยบายการทำบัญชีที่แตกต่างกัน
4. เมื่อพบว่ากิจการมีรายได้โตขึ้นมากๆ ผู้ใช้งบการเงินต้องตรวจดูว่ากิจการมีนโยบายการรับรู้รายได้แบบใด
5. รายการอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน
 191
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์