• หน้าแรก

  • News

  • ขยายเพดานตัดหนี้สูญ” เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ! ช่วยลดภาษีได้

ขยายเพดานตัดหนี้สูญ” เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ! ช่วยลดภาษีได้

  • หน้าแรก

  • News

  • ขยายเพดานตัดหนี้สูญ” เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ! ช่วยลดภาษีได้

ขยายเพดานตัดหนี้สูญ” เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ! ช่วยลดภาษีได้



เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปและของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดขึ้นใหม่ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นลูกหนี้จากเดิม 6 ชั้น คือ ชั้นปกติ กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือควรระวังเป็นพิเศษ ต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ปรับเป็น 3 ชั้น ได้แก่

ชั้นที่ 1 ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Performing)
ชั้นที่ 2 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Under-Performing)
ชั้นที่ 3 มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Non-Performing) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา

สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปและของสถาบันการเงิน มีสาระสำคัญ ดังนี้

1.เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมเกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็นเกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามทวงอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง เป็นต้น

2.เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมไม่เกิน 500,000บาท เป็นไม่เกิน 2,000,000บาท และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลมีคำสั่งรับฟ้องแล้ว เป็นต้น

3.กำหนดวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้รายย่อยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท

4.กำหนดให้การจำหน่ายหนี้สูญที่มีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 1 หรือ 2 ข้างต้น ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานการติดตามทวงถามตามสมควรแล้ว แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ

5.กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันสำรองครบ ร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด 6.กำหนดให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้สำหรับการจำหน่าย



ที่มา : https://www.facebook.com/…/a.484292138627…/1531610313895185/

ที่มา : www.prachachat.net

 1202
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์