sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ย้อนกลับ
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ โดยทุกเดือนจะต้องยื่นแบบภาษี โดยคำนวณจาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax หรือ CIT) คือ ภาษีที่มีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้เสียภาษี จากกำไรสุทธิทางภาษี คุณด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดอยู่ที่ 20%
และสำหรับภาษีซื้อต้องห้าม ที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีที่เรามักจะเจอบ่อยในชีวิตประจำวัน ได้แก่
1. ภาษีซื้อสำหรับค่ารับรอง
เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทํานองเดียวกัน รวมทั้งค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการหรือที่ให้บุคคลอื่น
2. ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตร - บังคับเฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
3. ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีอย่างย่อ
เช่น ซื้ออาหารสำหรับพนักงานจาก 7-11 และได้ใบกำกับภาษีอย่างย่อมา
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เช่น กิจการยังไม่ได้จด Vat เพราะยังไม่เข้าเงื่อนไข แต่ได้ไปซื้อคอมพิวเตอร์มาจากร้านค้าที่จด Vat
5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร
หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนํามาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
6. ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีแบบเต็มรูปที่มีข้อบกพร่อง
ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น
- มีรายการในใบกํากับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกําากับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
- มีข้อความอื่นที่อธิบดีกําหนดในใบกํากับภาษีที่ไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
- มีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนา (Copy) แต่ไม่รวมถึงใบกําากับภาษีที่จัดทํารวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจํานวนหลายฉบับ และใบกํากับภาษีมีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
7. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งได้คํานวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร– การเฉลี่ยภาษีซื้อ ใน กิจการ ที่มีรายการขาย / บริการ ทั้งที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม
8. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มนําไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือก ไม่นําภาษีซื้อ ทั้งหมดไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
หากมีภาษีซื้อเกิดขึ้น อย่าลืมพิจารณาก่อนว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) หรือไม่ หากใช่ ให้พิจารณาต่อว่า ภาษีซื้อนั้น สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในการกำไรสุทธิสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่เราอธิบายในบทความนี้หรือไม่ ภาษีซื้อต้องห้ามบางอย่างสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าไม่ทำความเข้าใจดีๆ อาจจะเสียสิทธิประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ที่มา : thaicpdathome.com
ภาษีซื้อ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
33958
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาษาอังกฤษกับนักบัญชี
ภาษาอังกฤษกับนักบัญชี
ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
จ้างทำบัญชีมีข้อดีอย่างไร? ทำไมควรจ้างสำนักงานบัญชี?
จ้างทำบัญชีมีข้อดีอย่างไร? ทำไมควรจ้างสำนักงานบัญชี?
ข้อดีของการจ้างสำนักงานบัญชี / บริษัททำบัญชี คือ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94
แบบ ภ.ง.ด.94 : แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก
อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio
อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio
อัตราส่วนทางการเงิน ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
ค่าใช้จ่าย (Expenses) ประเภทและความสำคัญ
ค่าใช้จ่าย (Expenses) ประเภทและความสำคัญ
ค่าใช้จ่าย (Expenses)
เป็นคำที่ใช้ในด้านการเงินและการจัดการธุรกิจ หมายถึง ทรัพยากรทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ถูกใช้ไปเพื่อการดำเนินให้ได้มาซึ่งการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการให้เป็นไปอย่างราบรื่น ค่าใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการทางการเงิน เนื่องจากช่วยสะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรและแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com