แนะนำภาพรวมระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

แนะนำภาพรวมระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

แนะนำภาพรวมระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ระบบ CRM

          CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือที่เรียกกันว่า “การบริหารลูกค้าสัมพันธ์” โดยเริ่มจากการศึกษาความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้า แล้วจึงนำมาจัดทำเป็นกระบวนการในการตอบสนองให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้นในอนาคต
          พนักงานขายสามารถนำระบบ CRM มาใช้ในการหากลุ่มลูกค้าที่สนใจ เพื่อนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย หรือใช้ระบบ CRM ในการดูประวัติหรือข้อมูลลูกค้า เช่น วันเกิด หรือวันครบรอบก่อตั้ง ซึ่งช่วยให้ไม่พลาดโอกาสสำคัญในการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า นอกจากนี้พนักงานขายสามารถใช้ระบบ CRM เพื่อช่วยวางแผนการขายสำหรับลูกค้าแต่ละราย และเก็บข้อมูลการติดต่อครั้งล่าสุดเพื่อใช้ในการเตรียมข้อมูลสำหรับการติดต่อครั้งต่อไป หรือส่งเรื่องไปยังพนักงานท่านอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหัวหน้าทีมหรือผู้บริหารระดับสูงสามารถนำข้อมูลการขายที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ และประเมินยอดขายต่อไปได้อีกด้วย

  • เมนูผู้สนใจ (Lead)
          การบันทึกข้อมูลลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสินค้าของเรา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเดิม หรือลูกค้ารายใหม่ เพื่อใช้ในการคัดกรองต่อว่ามีโอกาสที่จะขายได้มากน้อยเพียงใด และสามารถส่งข้อมูล Lead ดังกล่าวให้พนักงานขายไปดำเนินการขายในขั้นตอนต่อไป และคุณยังสามารถตัด Lead ที่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าของเราน้อยทิ้งได้ทันที ซึ่งจะช่วยกรอกข้อมูลจำนวนมากให้เหลือเฉพาะลูกค้าที่มีโอกาสสูงตามเกณฑ์ที่คุณกำหนดไว้ได้
 
  • เมนูโอกาสทางการขาย (Opportunity)
          การสร้างโอกาสทางการขาย เมื่อมีการติดต่อกับลูกค้า และลูกค้ามีความสนใจในสินค้าหรือบริการของกิจการ ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในการซื้อสินค้า กิจการจึงจำเป็นต้องมีการบันทึกค่าโอกาสทางการขาย เพื่อให้ทราบยอดประมาณการ และระยะเวลาที่คาดว่าจะปิดการขายรวมถึงวางแผนการดำเนินการขายอย่างมีประสิทธิภาพจนปิดการขายได้สำเสร็จ
 
  • เมนูกิจกรรม (Activity)
          การบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่มีการติดต่อกับลูกค้าหรือบุคคลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การว่าได้มีการทำ Activity ประเภทใด เริ่มเมื่อไหร่ และสิ้นสุดเมื่อไหร่ รวมถึงเก็บเป็นประวัติเพื่อใช้ในการเรียกดูยอนหลัง ซึ่งมีการบันทึก Activity มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ Task, Phone และ Email
 
  • เมนูปฏิทินกิจกรรม (Activity Calendar)
          การแสดงข้อมูลกิจกรรมในรูปแบบ “ปฏิทิน” ที่มีการบันทึกจากเมนูกิจกรรม ประเภท Task, Phone หรือ Email ที่ช่วยให้ทราบว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไหร่บ้าง เป็นต้น
  
  • เมนูปฏิทินครบรอบ (Anniversary Calendar)
          ปฏิทินแสดงวันสำคัญของลูกค้า หรือเจ้าหนี้ เพื่อให้กิจการได้รับทราบและจะได้จัดส่งจดหมาย หรือส่งของขวัญเพื่อแสดงความยินดี ซึ่งการกำหนดวันสำคัญต่างๆ สามารถบันทึกที่เมนูลูกหนี้ และเมนูเจ้าหนี้
 
 2218
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์