ขั้นตอนการสร้างเอกสารรับเงินมัดจำ (Deposit)

ขั้นตอนการสร้างเอกสารรับเงินมัดจำ (Deposit)

ขั้นตอนการสร้างเอกสารรับเงินมัดจำ (Deposit)

รับเงินมัดจำ (Deposit)

        การรับเงินมัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าจากลูกค้า สำหรับสินค้าที่ได้สั่งซื้อกับกิจการซึ่งรายการเงินมัดจำล่วงหน้านี้ สามารถนำไปใช้ตัดยอดรายการขายสินค้า หรือใช้ตัดยอดรายการรับชำระหนี้ค่าสินค้าก็ได้ เพื่อเป็นการลดจำนวนเงินค่าสินค้าที่ลูกค้าจะต้องจ่ายชำระค่าสินค้าที่ซื้อไป โดยการตัดยอดชำระดังกล่าวนั้นสามารถนำรายการรับเงินมัดจำไปตัดยอดเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้
 

คุณสมบัติ

  • สามารถอ้างอิงเลขที่ใบสั่งขาย และยอดจำนวนเงินมาบันทึกเอกสารรับเงินมัดจำได้
  • สามารถอ้างอิงเอกสารรับเงินมัดจำ เพื่อนำไปตัดยอดรายการขายสินค้า หรือยอดรับชำระหนี้ได้
  • สามารถรับชำระค่าเงินมัดจำได้ทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่ เงินสด, เช็ค, บัตรเครดิต หรือเงินโอน
  • สามารถกำหนดรูปแบบเลขที่เอกสาร (Running No.) ตามที่ต้องการ
  • สามารถกำหนดระยะเวลาวันที่สิ้นสุดของการวางเงินมัดจำที่มีการตกลงเงื่อนไขไว้
  • สามารถคำนวณภาษีขายให้อัตโนมัติ พร้อมมีรายงานรองรับ
  • สามารถบันทึกภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายได้ พร้อมมีรายงานรองรับ
  • สามารถบันทึกรายการรายวัน พร้อมแสดงในรายงานบัญชีแยกประเภทให้อัตโนมัติ
  • สามารถจำแนกเอกสารรับเงินมัดจำตาม Cost Center หรือ Internal Order
  • สามารถคัดลอก (Copy) เอกสารรับเงินมัดจำเดิมที่เคยส่งให้กับลูกค้ารายอื่นมาใช้งานได้ เพียงแก้ไขข้อมูลลูกค้า และรายละเอียดบางส่วนได้ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการสร้างเอกสารรับเงินมัดจำใหม่ 

รูปแบบฟอร์มเอกสาร

        รูปแบบฟอร์มเอกสารรับเงินมัดจำจะต้องแสดงรายละเอียดข้อมูลผู้ขาย, ข้อมูลผู้ซื้อ, เลขที่เอกสาร, วันที่เอกสาร, รายละเอียดรายการรับเงินมัดจำ, จำนวนเงินรวม, ภาษีขาย และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน
 

รายงานที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานเงินมัดจำ คือ รายงานที่แสดงรายละเอียดเอกสารรับเงินมัดจำที่มีการบันทึกข้อมูลทั้งหมด โดยในรายงานรับเงินมัดจำจะแสดงวันที่เอกสาร, เลขที่เอกสาร, ชื่อลูกค้า, จำนวนเงิน หรือภาษีขาย เป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบการแสดงรายงานทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแจกแจง และรูปแบบสรุป
  • รายงานเงินมัดจำคงเหลือ คือ รายงานที่แสดงรายละเอียดยอดรับเงินมัดจำคงเหลือทั้งหมด โดยในรายงานเงินมัดจำคงเหลือจะแสดงวันที่เอกสาร, เลขที่เอกสาร หรือชื่อลูกค้า เป็นต้น
  • รายงานเคลื่อนไหวเงินมัดจำ คือ รายงานที่แสดงรายละเอียดความเคลื่อนไหวของเงินมัดจำที่ได้นำไปตัดยอดรายการขายสินค้า, ยอดรายการรับชำระหนี้ โดยในรายงานเคลื่อนไหวเงินมัดจำจะแสดงวันที่เอกสาร, เลขที่เอกสาร หรือชื่อลูกค้า เป็นต้น
 3334
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์