ขั้นตอนการสร้างเอกสารจ่ายเงินมัดจำ (Payment Deposite)

ขั้นตอนการสร้างเอกสารจ่ายเงินมัดจำ (Payment Deposite)

ขั้นตอนการสร้างเอกสารจ่ายเงินมัดจำ (Payment Deposite)

จ่ายเงินมัดจำ (Payment Deposite)

        เอกสารที่ผู้ซื้อจัดทำเพื่อเป็นการบันทึกรายละเอียดการจ่ายเงินมัดจำให้กับผู้ขายในการสั่งซื้อสินค้า หรือบริการ โดยผู้ซื้อสามารถอ้างอิงเลขที่เอกสารจ่ายเงินมัดจำ เพื่อนำไปลดจำนวนยอดที่ต้องจ่ายชำระได้ที่เมนูซื้อเชื่อ, ซื้อสด หรือจ่ายชำระหนี้
 

คุณสมบัติ

  • สามารถจ่ายเงินมัดจำได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ เงินสด, เช็ค และเงินโอน
  • สามารถดูประวัติเอกสารจ่ายเงินมัดจำ ว่ามีการอ้างอิงไปใช้ที่เมนูใดบ้าง
  • สามารถส่งเอกสารใบสั่งซื้อให้ผู้บริหารทำการตรวจสอบ ก่อนอนุมัติเอกสารได้
  • มีข้อความแจ้งเตือนเมื่อมีการจ่ายชำระหนี้ที่มียอดเงินมัดจำ และไม่ได้หักเงินมัดจำนั้น
  • สามารถบันทึกเอกสารรายการรายวัน ไปบัญชีแยกประเภทโดยอัตโนมัติ
  • สามารถบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากหน้าจอจ่ายเงินมัดจำ พร้อมสั่งพิมพ์แบบฟอร์มหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ทันที
  • สามารถอ้างอิงเอกสารจ่ายเงินมัดจำ เพื่อนำไปตัดยอดจ่ายชำระได้ที่เอกสารซื้อเชื่อ, ซื้อสด หรือจ่ายชำระหนี้ได้ทันที
  • สามารถกำหนดรูปแบบเลขที่เอกสาร (Running No.) ตามที่ต้องการ
  • สามารถจำแนกเอกสารจ่ายเงินมัดจำตาม Cost Center หรือ Internal Order
  • สามารถคัดลอกเอกสารจ่ายเงินมัดจำเก่า เพื่อจัดทำเอกสารจ่ายเงินมัดจำลักษณะใกล้เคียงกันได้
  • สามารถสั่งพิมพ์แบบฟอร์ม และรายงานจ่ายเงินมัดจำจากระบบได้ 

รูปแบบฟอร์มเอกสาร

        รูปแบบฟอร์มเอกสารจ่ายเงินมัดจำจะต้องแสดงรายละเอียดข้อมูลผู้สั่งซื้อ, ข้อมูลผู้ขาย, เลขที่เอกสาร, วันที่เอกสาร, เงื่อนไขการจ่ายเงินมัดจำ, รายละเอียดรายการจ่ายเงินมัดจำ, จำนวนเงินรวม, ภาษีซื้อ, ลายเซ็นผู้รับผิดชอบ และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน
 

รายงานที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานจ่ายเงินมัดจำ คือ รายงานที่แสดงรายละเอียดเอกสารจ่ายเงินมัดจำที่มีการบันทึกข้อมูลทั้งหมด โดยในรายงานจ่ายเงินมัดจำจะแสดงวันที่เอกสาร, เลขที่เอกสาร, ชื่อผู้ขาย, รายการจ่ายเงินมัดจำ, จำนวนเงิน หรือภาษีซื้อ เป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบการแสดงรายงานทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแจกแจง และรูปแบบสรุป
  • รายงานเงินมัดจำคงเหลือ คือ รายงานที่แสดงรายละเอียดเอกสารจ่ายเงินมัดจำที่มียอดคงเหลือ โดยในรายงานเงินมัดจำคงเหลือจะแสดงวันที่เอกสาร, เลขที่เอกสาร, เลขที่ใบกำกับ, ชื่อผู้ขาย, เงินก่อนภาษี, หักเงินมัดจำ หรือยอดเงินมัดจำคงเหลือ เป็นต้น ซึ่งมีเงื่อนไขการเรียกดูรายงานตามวันที่เอกสาร, เลขที่เอกสาร และรหัสผู้ขาย
 1775
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์