4 วิธีทางบัญชีในการคำนวณสินค้าคงเหลือ

4 วิธีทางบัญชีในการคำนวณสินค้าคงเหลือ


การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย


แต่ก่อนจะกล่าวถึงวิธีการบันทึกบัญชีและข้อสันนิษฐานในการบันทึกสินค้า เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามูลค่าของ "สินค้าคงเหลือ" จะไม่ได้นำไปลงบัญชี "ขาย" เพราะบัญชีขายมีไว้รับรู้ราคาที่บริษัท "ขาย" สินค้า ส่วนบัญชี "สินค้าคงเหลือ" หรือ "Inventory" มีไว้รับรู้ราคาที่บริษัท "ซื้อ" สินค้า

เมื่อรู้จักชื่อบัญชีคร่าวๆ แล้วก็ถึงเวลาของระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือซึ่งมีด้วยกัน 2 วิธีคือ แบบสิ้นงวด (Periodic Inventory System) และแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System)

สำหรับระบบการบันทึกแบบสิ้นงวดจะคำนวณมูลค่าของ "สินค้าคงเหลือ" เป็นงวดๆ ซึ่งรวมไปถึง "ต้นทุนสินค้าที่ขาย" หรือ "Cost of goods sold" (COGS) ก็เช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นช่วงปลายปีหรือปลายเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าและดุลพินิจของเราว่าต้องการดูความ เคลื่อนไหวของสินค้าในสต็อกมากแค่ไหน โดยเมื่อซื้อสินค้าเข้ามา ตัวสินค้าจะยังไม่ลงบัญชี "สินค้าคงเหลือ" แต่จะลงบัญชี "ซื้อสินค้า" หรือ "Purchase" เสียก่อน ซึ่งการลงบัญชีแบบนี้มีข้อดีเพราะจะเห็นปริมาณการซื้อในแต่ละงวดอย่างชัดเจน แต่ข้อเสียคือจะไม่เห็นความเคลื่อนไหวที่แท้จริงของสินค้าคงเหลือ เพราะจะคำนวณเมื่อสิ้นงวดเท่านั้น

สำหรับระบบการบันทึกแบบต่อเนื่อง เมื่อซื้อสินค้าเข้ามาบริษัทจะบันทึกสินค้าลงไปที่สินค้าคงเหลือได้เลยโดย ไม่ต้องรอจนถึงสิ้นงวด ทำให้เห็นจำนวนสินค้าคงเหลือได้ตลอดเวลา และรู้ได้ว่ามีสินค้าเพียงพอกับความต้องการของตลาดในช่วงเวลานั้นหรือไม่

เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานสินค้าคงเหลือแล้วจึงจะสามารถทำความเข้าใจวิธีการคำนวณบัญชีสินค้าคงเหลือได้ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 วิธี ได้แก่

• วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification)

• วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in First-out; FIFO)

• วิธีเข้าหลัง ออกก่อน (Last-In Last-out; LIFO)

• วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted-average method)

• วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว (Moving-average method)

แต่ในปัจจุบันมาตรฐานการบัญชียอมรับเพียงสี่วิธีเท่านั้น เพราะวิธี "เข้าหลัง ออกก่อน" ซึ่งเหมาะกับบริษัทที่ขายอุปกรณ์เทคโนโลยีมีช่องโหว่ทำให้ตกแต่งบัญชีได้ ง่าย ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป แต่วิธีที่เหมาะสมกับบริษัทของเราก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าของบริษัท เองด้วย และจะมีข้อดีและข้อเสียต่างไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ทความโดย : incquity.com
 1366
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี
ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์