นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคลเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ดังนั้น นิติบุคคลจึงมีความสามารถเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น
นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะ ตามประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ถ้าจะถามว่าอะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง ต้องไปดูว่ากฎหมายสมมติให้อะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง กฎหมายสามารถบัญญัติให้อะไรเป็นนิติบุคคลก็ได้ นิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้มีมากมาย จึงของแยกนิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่
2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น
ข้อจำกัดของนิติบุคคล
โดยปกติ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่ก็มีสิทธิและหน้าที่บางอย่างที่โดยสภาพแล้วมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น นิติบุคลจะทำการจดทะเบียนสมรสไม่ได้ นอกจากนี้ ด้วนสภาพของนิติบุคคลย่อมไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่มีสมองคิดเหมือนบุคคลธรรมดา
นิติบุคคลจะมีความสามารถ สิทธิ และหน้าที่ภายใน ขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล เท่านั้น และจะแสดงออกซึ่งสิทธิและหน้าที่ก็แต่โดยผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล
ขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล คือ จุดมุ่งหมาย หรือขอบเขตแห่งอำนาจของนิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ นิติบุคคลนั้นตั้งมาเพื่ออะไร และจะทำอะไรได้บ้าง
ผู้แทนนิติบุคคล คือ ผู้ทำหน้าที่แสดงเจตนาแทนตัวนิติบุคคล เปรียบเสมือนเป็นตัวนิติบุคคลนั้นเอง
ตัวแทนนิติบุคคล หรือตัวแทน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนตัวการ ตามสัญญาตัวแทน
สภาพนิติบุคคลเริ่มตั้งแต่