ประกันสังคมถือเป็นสิ่งที่นายจ้างและลูกจ้างในทุก ๆ บริษัทจำเป็นที่จะต้องดำเนินการส่งเงินสมบทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยหักจากเงินเดือนจำนวน 5 % หรือไม่เกิน 750 บาท เพื่อเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตและได้รับสวัสดิการที่รัฐมอบให้ เมื่อเกิดกรณีที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย, กรณีคลอดบุตร, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต, กรณีสงเคราะห์บุตร, กรณีชราภาพ หรือกรณีว่างงาน ทั้งนี้ประกันสังคมนั้นมีอยู่ทั้งหมด 3 มาตรา โดยแบ่งออกเป็น มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ซึ่งในแต่ละมาตราก็จะแตกต่างกันออกไปทั้งคุณสมบัติของผู้ประกันตนและสวัสดิการต่าง ๆ ที่จะได้รับจากประกันสังคม
มาตรา 33 คืออะไร และ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
มาตรา 33 คือ เป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์เท่านั้น
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
คุ้มครองทั้งหมด 7 กรณีดังนี้
-
- เจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- เสียชีวิต
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
- ว่างงาน
มาตรา 39 คืออะไร และ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
มาตรา 39 คือ เคยเป็นผู้ที่อยู่ในมาตรา 33 มาก่อน ทั้งนี้ได้มีการสมทบเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
คุ้มครองทั้งหมด 6 กรณีดังนี้
-
- เจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- เสียชีวิต
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
มาตรา 40 คืออะไร และ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
มาตรา 40 คือ บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งทำงานโดยไม่มีนายจ้าง
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
คุ้มครองทั้งหมด 3-5 กรณีขึ้นอยู่กับทางเลือก ดังนี้
-
- เงินทดแทนการขาดรายได้
- ทุพพลภาพ
- ตาย
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ (บำเหน็จ)
ที่มา : bestreview.asia,ประกันสังคม