งบกําไรขาดทุนมีอะไรบ้าง

งบกําไรขาดทุนมีอะไรบ้าง


หากความสำคัญของงบดุล (Balance Sheet) คือแผนผังแสดงโครงสร้างหลักของกิจการ เพราะเป็นรายงานที่บ่งบอกถึงสภาพความมั่นคงเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสินทรัพย์และหนี้สิน งบกำไร/ขาดทุน (Income Statement) ก็คงเปรียบได้กับแผนผังเส้นเลือดของกิจการ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการทั้งหมดพร้อมแสดงออกมาในรูปกำไรหรือขาดทุนเพื่อบ่งบอกการเติบโตของกิจการ ซึ่งเป็นอีกรายงานทางการเงินที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก

ดังนั้น ในบทความนี้จึงรวบรวมสาระสำคัญเบื้องต้นของรายงานงบกำไร/ขาดทุน ที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจ อีกทั้งช่วยในการวางแผนกำไรและควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนเกินเพื่อการวางแผนเสียภาษีได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

งบกำไร/ขาดทุนคืออะไร

กิจกรรมการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี จะถูกแสดงความสามารถของธุรกิจว่ามีรายได้ และค่าใช้จ่ายเท่าใด ออกมาในรูปแบบของรายงานงบกำไร/ขาดทุน หรือ Income Statement โดยรายงานดังกล่าวนี้ มีหลักสมการที่สำคัญ คือ

“รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน)”

ซึ่งแต่ละตัวแปรของสมการมีความหมาย ดังนี้

1. รายได้ สำหรับบุคคลทั่วไป รายได้หมายถึงการได้รับผลตอบแทนจากการขายสินค้าหรือบริการ แต่ในทางบัญชีรายได้ หมายความครอบคลุมไปถึงสินทรัพย์ที่บริษัทถือครองไว้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือจากการลดลงของหนี้สินจากการปรับโครงสร้างหนี้ทำให้ส่วนทุนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยรายได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  • ยอดขายสุทธิ เป็นตัวเลขแสดงรายได้จากการดำเนินการของกิจการโดยตรง เช่น การขายสินค้าหรือบริการ
  • รายได้อื่นๆ เป็นตัวเลขแสดงรายได้จากการดำเนินการของกิจการโดยอ้อมเช่น การขายสินทรัพย์ระยะยาว โรงงาน ที่ดิน เครื่องจักร เป็นต้น

2. ค่าใช้จ่าย สำหรับในทางบัญชีค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุน 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

  • ต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นต้นทุนที่เกิดพร้อมกับการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงานขาย เป็นต้น
  • ต้นทุนในการบริหารงาน เป็นต้นทุนคงที่เกิดขึ้นทุกเดือน แม้จะไม่ได้ยอดขายจากสินค้าหรือบริการในเดือนนั้นๆก็ตาม เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าโรงงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าจ้างพนักงานออฟฟิส เป็นต้น
  • ต้นทุนทางการเงิน หมายถึงต้นทุนของสินทรัพย์ที่ถือครองไว้ เช่น ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินธนาคาร หรือค่าเสื่อมราคาจากสินทรัพย์ระยะยาว เช่น เครื่องจักร รถยนต์ อาคารหรือโรงงาน

3. กำไร(ขาดทุน) ขั้นต้น เมื่อนำผลรวมรายได้ทั้งหมดของกิจการ หักออกจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็จะได้ผลตอบแทนออกมาในรูปกำไร หรือขาดทุนขั้นต้น (ก่อนหักภาษี) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นส่วนสำคัญในการคำนวณจำนวนเงินที่ต้องจ่ายภาษีของกิจการโดยกฏหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายภาษี ดังนี้

  • หากรายได้ > ค่าใช้จ่าย แปลว่ากิจการมีกำไร ดังนั้นกิจการจะต้องมีการเสียภาษี โดยเสียภาษีจ่าย = กำไร x อัตราภาษีเงินได้
  • หากรายได้ < ค่าใช้จ่าย แปลว่ากิจการขาดทุน ซึ่งกฏหมายกำหนดให้กิจการดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษี

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกกิจการที่มีผลประกอบการขาดทุนจะไม่ต้องเสียภาษี เพราะกำไร (ขาดทุน) ที่นำมาคำนวณภาษีจะต้องเป็นตัวเลขที่ใช้ได้ทางภาษี นั่นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่นำมาหักออกจะต้องเป็นรายจ่ายที่ภาษีกำหนด โดยต้องไม่เข้าข่ายรายจ่ายต้องห้าม เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าใช้จ่ายรับรอง ซึ่งหากกิจการใดๆนำรายจ่ายต้องห้ามเหล่านี้มาหักออกจากรายได้เพื่อแสดงว่ากิจการมีผลประกอบการขาดทุน นอกจากกิจการนั้นๆจะมีความผิดทางกฏหมายต้องเสียภาษีแล้ว ยังอาจโดยปรับเบี้ยเพิ่มจนทำให้กิจการมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิก็เป็นได้

4. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ เป็นตัวเลขอันดับสุดท้ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุน ซึ่งเกิดจากการนำผลกำไร(ขาดทุน) ขั้นต้นมาลบออกจากภาษีจ่าย กลายเป็นผลกำไร(ขาดทุน) สุทธิที่เป็นมาตรการสำคัญที่สุดในการวัดผลกำไรของบริษัท และเมื่อจบงวดบัญชีตัวเลขดังกล่าวนี้จะถูกนำไปบวกหรือลบจากกำไรสะสมซึ่งเป็นบรรทัดหนึ่งในส่วนของผู้ถือหุ้นในรายงานแสดงงบดุล(Balance Sheet)

จากส่วนประกอบทั้งหมดของรายงานงบกำไรขาดทุน จะเห็นได้ว่ารายงานดังกล่าว มีความซับซ้อนน้อยกว่ารายงานของงบดุลอย่างเห็นได้ชัด เพราะสะท้อนให้เห็นการผลการดำเนินธุรกิจของกิจการได้อย่างชัดเจน  สามารถนำไปวางแผนควบคุมหรือขยายกิจการในอนาคต ดังนั้นงบกำไรขาดทุนจึงเป็นรายงานทางบัญชีอีกตัวหนึ่งที่สำคัญและผู้ประกอบการทุกคนจำเป็นต้องรู้


บทความโดย : www.pangpond.co.th

 

 843
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย
ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง
ในบทความนี้ เราจึงมีคำแนะนำดีๆ และเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปสำหรับสำนักงานบัญชี และนักบัญชีมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการการบันทึกบัญชี เก็บรวบรวมเอกสาร สร้างรายงานที่สำคัญ รวมไปถึงการยื่นภาษี และปิดงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่กรมสรรพากรออกมาให้ใช้ กรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว
รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์