การควบคุมภายในเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า


1. สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า บัญชีย่อยเจ้าหนี้จะมียอดรวมตรงกับบัญชีคุมยอดเจ้าหนี้การค้า

2. รายงานเจ้าหนี้การค้าคงเหลือมีการตรวจสอบกับเอกสาร เช่น ใบส่งของ หรือบิลเก็บเงินที่ ได้รับจากเจ้าหนี้การค้า ถ้าแตกต่างกันต้องติดตาม

3. การปรับปรุงยอดในบัญชีเจ้าหนี้การค้า ได้รับการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่

4. ยอดคงเหลือด้านเดบิตในบัญชีเจ้าหนี้การค้า ต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่

5. ถ้ากิจการมีนโยบายที่จะชำระหนี้โดยได้ส่วนลดจะต้องมีการตรวจสอบเวลาการชำระหนี้ว่าเกินกำหนดหรือไม่

6. เมื่อได้รับรายงาน (Statement) จากเจ้าหนี้การค้าจะต้องมีการตรวจสอบว่าตรงกับรายการที่ลงบัญชีไว้หรือไม่ ถ้าแตกต่างกันต้องติดตามค้นหาสาเหตุ

7. เจ้าหนี้การค้าที่ไม่มารับเงินนานเกินกว่าปกติจะต้องติดตามหาสาเหตุ



ทความโดย : www.jarataccountingandlaw.com
 1535
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบัน การบริหารจัดการทางด้านต่อการจัดการการเงินและด้านทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในธุรกิจ และในยุคดิจิตอลนี้ ก็มี software มากมาย ที่เป็นตัวเลือกให้ธุรกิจได้ตัดสินใจเลือกใช้ เพราะแต่ละโปรแกรมก็มี Features แตกต่างกันออกไป หรือบางโปรแกรมก็สามารถทำให้ทั้งสองโปรแกรมนี้ทำงานร่วมกันได้ แล้วจะเลือก โปรแกรมเงินเดือน หรือ โปรแกรมบัญชี อย่างไรให้เหมาะสมธุรกิจของตัวคุณเองล่ะ?  เรามาดูแนวทางกันดีกว่าค่ะ
หากความสำคัญของงบดุล (Balance Sheet) คือแผนผังแสดงโครงสร้างหลักของกิจการ เพราะเป็นรายงานที่บ่งบอกถึงสภาพความมั่นคงเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสินทรัพย์และหนี้สิน งบกำไร/ขาดทุน (Income Statement) ก็คงเปรียบได้กับแผนผังเส้นเลือดของกิจการ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการทั้งหมดพร้อมแสดงออกมาในรูปกำไรหรือขาดทุนเพื่อบ่งบอกการเติบโตของกิจการ ซึ่งเป็นอีกรายงานทางการเงินที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
คำว่า audit คืออะไร ในบางมุมคนอาจแทนความหมายของ audit เป็นอาชีพ ซึ่งหมายถึงอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งอาชีพ audit นั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภท หรือในบางมุมหากมองว่า audit คือการกระทำ คำว่า audit จะมีความหมายว่า การตรวจสอบซึ่งก็สามารถแบ่งได้ออกเป็นอีกหลายประเภทเช่น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์