สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีหน้าที่ทำอะไรให้บ้าง

สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีหน้าที่ทำอะไรให้บ้าง

หน้าที่ของสำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี ที่รับจ้างทำบัญชี คืออะไร?

จ้างทำบัญชีคือทำอะไร?  บริการรับทำบัญชีควรต้องทำอะไรให้บ้าง? เป็นคำถามที่เจ้าของกิจการ / ผู้ประกอบการ หลายท่านสงสัย

วันนี้เราจะมาดูกันว่า บริการรับทำบัญชี คือทำอะไร....สำนักงานบัญชี / บริษัททำบัญชี ที่รับทำบัญชีนั้น มีหน้าที่ต้องทำงานอะไรให้บ้าง

บริการรับทำบัญชี ประกอบด้วยบริการดังต่อไปนี้

  1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ
    • ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน
    • ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี
    • ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี
  2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ
    • งานบัญชีบริหาร
    • งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร

1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ

1.1 ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน

  • ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
    • ภ.ง.ด.1    หากมีการจ่ายเงินให้พนักงาน
    • ภ.ง.ด.3   หากมีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา
    • ภ.ง.ด.53  หากมีการจ่ายเงินให้นิติบุคคล
    • ภ.ง.ด.54  หากมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
  • ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ยื่นประกันสังคม
    • นำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน
    • แจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่
    • แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนหากลูกค้าลาออก

1.2 ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี

  • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีรายวัน 5 เล่มตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บัญชีเงินสด, บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร, บัญชีรายวันซื้อ, บัญชีรายวันขาย และบัญชีรายวันทั่วไป
  • จัดทำบัญชีแยกประเภทต่างๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีสินค้า
  • จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
  • ปิดบัญชีประจำปี จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน เช่น สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด, การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และบัญชีต่างๆ เป็นต้น
  • จัดทำงบการเงินประจำปี ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน, งบกำไรขาดทุน, งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น, และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
  • ให้ข้อมูลและตอบคำถามผู้สอบบัญชี ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน   

1.3 ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี

2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ

ข้อด้านล่างนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่กิจการอาจเลือกจ้างสำนักงานบัญชีให้ทำงานเหล่านี้ให้ด้วยได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการ

2.1 งานบัญชีบริหาร

  • ปิดงบและรายงานผลการดำเนินงาน รายเดือน หรือ รายไตรมาส (ความถี่แล้วแต่ตกลง) แก่ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ
  • วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขผลประกอบการ  เพื่อให้สามารถนำตัวเลขมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงที   

2.2 งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร  

  • วางระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน เช่น กำหนดรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กำหนดขั้นตอนระบบการทำงานและผังวงจรเอกสารภายใน เป็นต้น
  • การวางแผนภาษีทั้งภาษีนิติบุคคล และอาจครอบคลุมไปถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของ

หากสำนักงานบัญชีและนักบัญชีกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs เราขอแนะนำโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และนักบัญชียอมรับพร้อมรองรับการใช้งานสำหรับสำนักงานบัญชีได้ทุกอย่าง อีกทั้งยังคุ้มค่ากับการลงทุน และช่วยประหยัดเวลาในการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีแบบครบวงจร

ลงทะเบียน Demo โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชี
ที่มา : https://accountingcenter.co
 6091
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในบทความนี้ เราจึงมีคำแนะนำดีๆ และเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปสำหรับสำนักงานบัญชี และนักบัญชีมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการการบันทึกบัญชี เก็บรวบรวมเอกสาร สร้างรายงานที่สำคัญ รวมไปถึงการยื่นภาษี และปิดงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์