การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท มีขั้นตอนอย่างไร

การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท มีขั้นตอนอย่างไร

เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร

ขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัทจำกัด

การเพิ่มทุนของบริษัททำโดยออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษที่ประชุมผู้ถือหุ้นและต้องแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. มีขั้นตอนดังนี้

  1. บริษัทออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและ
  2. ลงหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้งและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้นก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
  3. จัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยที่ประชุมมีมติพิเศษด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
  4. จัดทำคำขอและยื่นต่อนายทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หมายเหตุ:

  • การเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม และหุ้นที่ออกใหม่ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นเดิมถือหุ้นอยู่ก่อน
  • หากผู้ถือหุ้นเดิมไม่ซื้อหุ้นที่เพิ่มทุนให้ขายหุ้นนั้นแก่ผู้ถือหุ้นคนอื่น หรือกรรมการรับซื้อไว้เอง
  • กรณีต้องการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจะต้องจัดประชุมแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) โดยแก้ไขมูลค่าหุ้น (แปลงมูลค่าหุ้น) ก่อน

เอกสารประกอบการจดทะเบียนเพิ่มทุน

  1. แบบ บอจ.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  2. คำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ
  4. หนังสือบริคณห์สนธิ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
  5. ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น
  6. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  8. กรณีมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนซึ่งทำให้ทุนจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท จะต้องจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : www.twentyfouraa.com
 3607
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
TAX กับ VAT เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในโลกออนไลน์กันอย่างต่อเนื่องว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และถือเป็นการเสียภาษีให้กับภาครัฐเหมือนกันหรือไม่? 
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2567 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์