แจ้งเอกสารหายออนไลน์ ไม่ต้องไปโรงพัก

แจ้งเอกสารหายออนไลน์ ไม่ต้องไปโรงพัก


เมื่อเอกสารหายก่อนอื่นคือต้องรีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานก่อนไปทำ เอกสารใหม่ที่หน่วยงานเอกสารต้นสังกัดนั้น การติดต่อราชการที่รู้สึกเสียเวลายุ่งยาก ยิ่งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งจะอยู่ในชีวิตของเราอีกนาน ทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกในการติดต่อ แต่ปัจจุบันมี 
“ระบบแจ้งเอกสารหายออนไลน์” ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องไปโรงพัก เรามาดูการใช้งานระบบใหม่นี้กันนะคะ

ระบบนี้เริ่มประกาศให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 สามารถแจ้งความผ่านระบบนี้ได้เพียง 17 จังหวัด (ข้อมูล ณ19 สิงหาคม 2564) ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา น่าน บุรีรัมย์ พะเยา ยโสธร ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน

การใช้งานระบบสามารถเข้าเว็บไซต์ http://www.แจ้งความออนไลน์.com เลือกเริ่มต้นใช้งานหรือล็อกอินผ่าน Line Account มีขั้นตอนเข้าสู่ระบบ ดังนี้



อย่างไรก็ตามเอกสารบางประเภทที่เมื่อหายไม่ต้องไปดำเนินการแจ้งความมี 6 ประเภท ดังนี้

1.ทะเบียนบ้าน เจ้าบ้านสามารถดำเนินการขอทำใหม่ได้เลย หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำ เรื่องให้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ

2.บัตรประจำตัว ประชาชนสามารถนำทะเบียนบ้านตัวจริงไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้เลย

3.บัตรประกันสังคม สามารถนำบัตรประชาชนไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทตนเอง

4.ใบขับขี่ สามารถนำบัตรประชาชนไปดำเนินการขอทำใบขับขี่ใหม่ ได้ที่กรมขนส่งทางบก หรือสำนักงานย่อย โดยไม่ต้องสอบขับขี่ใหม่ (กรณีใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ/แท็กซี่สูญหาย จะต้องนำใบแจ้งความไปใช้เป็นหลักฐานในการยื่นคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่)

5.แผ่นป้ายทะเบียนรถ สามารถนำสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการขอทำใหม่

6.บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี สามารถนำบัตรประชาชนและหรือทะเบียนบ้านไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ของตนเอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ที่มา : https://www.rd.go.th/fileadmin/eMagazines/online_092564.pdf
 2664
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการกำหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยได้ร่วมกันเผยแพร่ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดย่อมโดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก หรือ ธุรกิจขนาดจิ๋ว
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่าและเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์