เครดิตภาษีเงินปันผล

เครดิตภาษีเงินปันผล


สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน

1.เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร เกิดจากอะไร

       เครดิตภาษีเงินปันผลเป็นอีกสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ เนื่องมาจากความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้

       พูดง่ายๆ คือ “เงินปันผล” มาจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อบริษัทนำกำไรสุทธิมาจ่ายเป็นเงินปันผล นักลงทุนยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นการ

       เสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน ภาครัฐจึงอนุญาตให้นักลงทุนขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนได้ บางส่วน นักลงทุนสามารถดูอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทได้จาก หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งนักลงทุนต้องเก็บหนังสือรับรองนี้ไว้เป็นหลักฐาน เผื่อกรณีที่กรมสรรพากรขอหลักฐานเพิ่มเติมภายหลังด้วย

2.อยากเครดิตภาษีเงินปันผลต้องทำอย่างไร

       ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่า... เงินปันผลที่ได้รับสามารถใช้เครดิตภาษีได้หรือไม่ วิธีง่ายๆ ให้ดูว่า บริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้เรานั้นเสียภาษีนิติบุคคล หรือไม่

       ถ้าบริษัทนั้น “เสียภาษี” นักลงทุน สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ แต่จะนำมาเครดิตได้ในอัตราเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทที่ลงทุนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละเท่าใด นำอัตราภาษีมาแทนค่าตามสูตรข้างต้น จะได้สัดส่วนการเครดิตภาษีเงินปันผล หรือถ้าบริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา ก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผลในแต่ละอัตรา ซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

       แต่ถ้าบริษัทนั้น “ไม่เสียภาษี” นักลงทุนจะ ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ นักลงทุนอาจต้องพิจารณาต่อว่าบริษัทไม่เสียภาษี
เนื่องจากอะไร เช่น

  • เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI)
  • กฎหมายพิเศษยกเว้น เช่น พาณิชย์นาวี ซึ่งบริษัทเรือหรืออู่เรือส่วนใหญ่เข้าข่ายเกณฑ์ข้อนี้ แต่อาจต้องตรวจสอบกับบริษัทนั้นๆ อีกครั้งว่า... จดทะเบียนยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่

3.ควรนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีและใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่

       เทคนิคคร่าวๆ ว่า… จะเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่ ให้พิจารณาจาก ฐานภาษีเงินได้ของนักลงทุน เปรียบเทียบกับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัทที่นักลงทุนได้รับเงินปันผล

ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา > อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท ไม่ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล”

ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา < อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล”

       ข้อควรระวังในการเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผล คือ หากตัดสินใจเลือกนำเงินปันผลมาเครดิตภาษีแล้ว จะต้องนำเงินปันผลทุกรายการที่ได้รับมาคำนวณ จะเลือกนำเฉพาะรายการใดรายการหนึ่งไม่ได้

       เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว... อย่าลืมไปใช้สิทธิขอคืนภาษีกันเชียว ถึงจะเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่รวมกันหลายๆ ปีก็คงเป็นเงินจำนวนไม่น้อย หรือหากท่านใดไม่ประสงค์จะขอคืน ก็สามารถบริจาคเงินภาษีให้รัฐบาลนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ต่อไป

แหล่งที่มา : Link

 1541
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 
ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี CPA (Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) การสอบ CPA เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในด้านบัญชีและงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นที่ยอมรับและเคารพในวงกว้างในวงการบัญชีและการเงิน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
ถ้าคุณจบปริญญาตรี สาขาบัญชีมา  โดยทั่วไปจะสามารถเลือกเข้าทำงานในบริษัทได้หลายรูปแบบ จะเลือกทำงานในบริษัทที่เป็นผู้ผลิต หรือผู้ขายก็ได้  หรือจะเลือก หางานบัญชีบริษัทตรวจสอบบัญชีก็ได้ ทั้ง 2  กรณีนี้จะมีรูปแบบการทำงานแตกต่างกัน
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์