4 รูปแบบการควบรวมกิจการ

4 รูปแบบการควบรวมกิจการ


การควบโอนกิจการ การควบรวมกิจการ (Merger) หมายถึง กรณีที่นิติบุคคลตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป มีการโอนกิจการหรือทรัพย์สินหรือ หุ้นทั้งหมดให้แก่กันไม่ว่าในระดับผู้ถือหุ้นหรือในระดับบริษัท


รูปแบบที่ 1

การได้มาซึ่งหุ้น (Share Acquisition)

การควบรวมกิจการโดยวิธีได้มาซึ่งหุ้น อาจมีได้ทั้งกรณีชำระค่าหุ้นด้วยเงินสด (Payment in cash) และการชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่น (Payment in kind) ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาต เช่น การชำระด้วยหุ้นหรือการแลกหุ้น (Share swap) การเข้าชำระหนี้แทนผู้โอน หรือการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง เป็นต้น

รูปแบบที่ 2

การได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือธุรกิจของบริษัท (Assets Acquisition)

หมายถึงกรณีที่บริษัทหนึ่งตกลงซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด หรือธุรกิจของอีกบริษัทหนึ่งทำให้บริษัทผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ทั้งหมดของผู้โอน เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจต่อไป จำแนกเป็น 2 กรณี

➡️ ผู้โอนอาจจดทะเบียนเลิกกิจการหรืออาจประกอบกิจการอย่างอื่นใหม่ก็ได้

➡️ ผู้โอนอาจเป็นผู้ถือหุ้นของผู้รับโอน หรือมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ก็ได้

รูปแบบที่ 3

1) การโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer / EBT)

2) การโอนกิจการบางส่วน (Partial Business Transfer / PBT)

➡️ การโอนกิจการทั้งหมด คือ การที่บริษัท B โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ บริษัท A โดย บริษัท B จะต้องจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ แต่บริษัท A ยังคงประกอบกิจการต่อไป

➡️ การโอนกิจการบางส่วน คือ การที่บริษัท B โอนกิจการบางส่วนให้แก่บริษัท A หรือบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยการโอนกิจการบางส่วนนั้น จะต้องเป็นการ โอนหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ซึ่งได้แก่ ทรัพย์สิน,พนักงาน,หนี้สิน

รูปแบบที่ 4

การควบบริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Amalgamation)

➡️ การควบกิจการตาม ปพพ. (Amalgamation) เป็นการรวมบริษัทเดิม ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปเข้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนขึ้นใหม่จะมีบริษัทใหม่เกิดขึ้นและบริษัทเดิมเลิกกิจการไป


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 
 686
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการทำงาน เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานนอกเหนือจากเวลางานหรือกระทั่งการทำงานเป็นกะ เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การทำโอที (Overtime: OT) แก่ลูกจ้าง
งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์