มารู้จักกับคำถามยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อสินทรัพย์อย่างคำถามที่ว่า การทำบัญชีที่ดินและอุปกรณ์สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ หากให้ดูตามข้อกฎหมายก็จะพบว่าจริง ๆ แล้วทางสรรพากรกล่าวว่า “รายงานที่มีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึงรายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่อกิจการ ที่เป็นระยะเวลายาวนานถึง 1 ปี เพื่อรอระยะบัญชี” สามารถแปลได้ง่าย ๆ ว่า หากคุณซื้อสินทรัพย์ เช่น รถยนต์ เพื่อนำมาใช้กับกิจการงานต่าง ๆ ในราคา 2 ล้านบาท นั่นหมายความว่าคุณต้องใช้งานรถยนต์ไปก่อน 1 ปี หลังจากนั้นให้บันทึกรถยนต์เป็นสินทรัพย์ถาวรก่อนที่จะต้องทยอยเสียค่าใช้จ่ายในรูปแบบของค่าเสื่อมราคา แต่ทว่าหากให้อธิบายโดยที่ไม่ทราบอะไรเลยอาจจะเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจ ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้หากต้องการทำบัญชี ที่ดินและอุปกรณ์ก็คงจำเป็นที่จะต้องเริ่มจากการทำความรู้จักกับสินทรัพย์ถาวรกันก่อน
สินทรัพย์ถาวรหรือทรัพย์สินถาวร คือ ที่ดินและอุปกรณ์ ถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตหรือใช้ประกอบในการจัดจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่าหรือเพื่อการบริหารงานและเป็นกิจการที่ใช้ประโยชน์มากกว่า 1 รอบปี ในส่วนของที่ดินและอาคารสามารถยกตัวอย่างได้เช่น ส่วนปรับปรุงที่ดิน ส่วนปรับปรุงอาคาร อาคารสำนักงาน อาคารโรงงาน อาคารโกดังสินค้า ในส่วนของอุปกรณ์ ยกตัวเช่น เครื่องจักร เครื่องตกแต่งและจัดตั้ง ไปจนถึงอุปกรณ์สำนักงานและยานพาหนะ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสินทรัพย์ที่กำลังก่อสร้างและพืชที่ให้ผลผลิตจากการทำเกษตรกรรมด้วย
ทั้งนี้สาเหตุที่สินทรัพย์ถาวรเกี่ยวข้องกับการทำบัญชีก็มีสาเหตุมาจากเรื่องของ ค่าเสื่อมราคา ซึ่งสินทรัพย์บางอย่างหากซื้อมาใช้งานแล้วก็คงจะไม่มีทางที่จะเกิดการสึกหร่อขึ้นในทันที ดังนั้นจึงต้องมีการทิ้งระยะเวลาเอาไว้อย่างน้อย 1 ปีเป็นต้นไปจึงจะสามารถคิดบัญชีค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ได้
จากที่กล่าวไปข้างต้นเมื่อผู้ประกอบการสร้างความน่าเชื่อถือในการจดทะเบียนบริษัทแล้ว ก็คงพอจะทำให้รู้จักกับค่าเสื่อมราคากันไปไม่มากก็น้อยแล้ว ดังนั้นหากสรุปสั้น ๆ คร่าว ๆ ก็สามารถกล่าวได้ว่าค่าเสื่อมราคาก็คือ ค่าใช้จ่ายหลังจากมีการลงทะเบียนสินทรัพย์ถาวรแล้วนั่นเอง
ทั้งนี้หลักเกณฑ์สำคัญในการคิดค่าเสื่อมราคาเพื่อใช้ในการทำบัญชี อย่างแรกมูลค่าของการเสื่อมสภาพจะต้องมีการปันส่วนอย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งาน นอกจากนี้ในการคิดค่าเสื่อมสภาพยังต้องคำนึงถึงประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจากการใช้สินทรัพย์และยังต้องมีการรับรู้ค่าเสื่อมราคาในรูปแบบของค่าใช้จ่ายอยู่ตลอด เว้นกรณีที่มีการนำไปรวมกับสินทรัพย์
ผู้ทำบัญชี มีการกำหนดคุณวุติการศึกษาของผู้ทำบัญชีที่สามารถรับทำบัญชีได้ ดังต่อไปนี้
1. คุณวุฒิของผู้ทำบัญชี
1.1 ผู้ทำบัญชีวุฒิขั้นต่ำอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สาขาการบัญชีและสามารถที่จะจัดทำบัญชีได้ตามเงื่อนไข ต่อไปนี้
1.2 ผู้ทำบัญชีวุฒิปริญญาตรี สาขาการบัญชี สามารถจัดทำบัญชีได้ทุกนิติบุคคล
2. คุณสมบัติอื่นๆ ของผู้ทำบัญชี
2.1 มีภูมิลำเนาหรือที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
2.2 มีความรู้ด้านภาษาไทยที่เพียงพอต่อการเป็นผู้รับทำบัญชี
2.3 ไม่เคยต้องโทษที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำกัดคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามกฏหมายว่าด้วยการบัญชีหรือกฏหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีและกฏหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี=
ผู้ทำบัญชี จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเป็นผู้ทำบัญชี โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!