บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร

บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร


หากได้ยินคำว่า “บัญชี” หลายๆคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการทำงานที่เกี่ยวกับบัญชี มักจะเข้าใจว่าเป็นเพียงการทำงานที่เกี่ยวกับเงินและตัวเลข แต่หากได้สัมผัสและรู้ถึงความจริงของนักบัญชี จะเข้าใจได้ว่า นักบัญชีนั้นเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสามารถด้านการคิดคำนวณ ไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์ในสถานการณ์ต่างๆ ของภาคธุรกิจ เพื่อบันทึกรายการนั้นๆได้อย่างถูกต้อง

ฉะนั้น ทักษะการคำนวณนั้นจึงเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่ง ของความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพนี้เท่านั้น แต่ความรู้ในด้านการคิดวิเคราะห์ต่างหากที่เป็นจุดเด่น เป็นความรู้ความสามารถที่ควรมีในตัวนักบัญชี 

รวมถึงนักบัญชีจะต้องมีความรู้และไม่หยุดที่จะเรียนรู้รวมถึงการพัฒนาตัวเอง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้น เรามาดูกันว่า ตัวตนหรือบุคคลิกของนักบัญชี จะมีอะไรบ้าง 

1. จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ
เนื่องจากนักบัญชีจะเป็นด่านแรกที่ได้รับข้อมูล และ ด่านสุดท้ายที่จะรายงานข้อมูลสู่สาธารณชน ฉะนั้นข้อมูลต่างๆที่เผยแพร่ออกไป จะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ จึงส่งผลให้หลายๆ คนที่ทำอาชีพนี้มีบุคคลิกที่เป็นคนละเอียด หรือ หากบุคคลภายนอกได้ร่วมงานด้วยก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นักบัญชีเรื่องมากบ้าง จุกจิกบ้าง ด้วยเพราะงานบัญชีเกี่ยวข้องกับเอกสารเป็นจำนวนมาก

2. เป็นนักวางแผน
เนื่องจากต้องมีกระบวนการรายงานข้อมูลต่างๆ ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา เช่น งบการเงิน ที่จะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร หรือตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น 

3. เป็นคนขยัน อดทน
ที่จะต้องรับมือเป็นฝ่ายสุดท้าย ก่อนส่งงานออกให้ทันเวลากำหนดมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นๆให้สำเร็จ ลุล่วง ด้วยดี ในทุกๆ งาน

4. ความซื่อสัตย์
นักบัญชีทำงานภายใต้จรรยาบรรณของวิชาชีพ ฉะนั้น การรายงานต่างๆ จึงต้องเป็นไปด้วยความถูกต้อง แม่นยำและเป็นความจริงเสมอ

5. น้ำไม่เต็มแก้ว
เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการออกประกาศฉบับใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

6. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แยกแยะประเด็นต่างๆ และนำความรู้ภาคทฤษฎีมาปรับใช้ในภาคธุรกิจ

7. บุคคลิก เรียบร้อย ดูดี มีภูมิฐาน
เนื่องจาก งานในวิชาชีพนี้ ส่วนใหญ่ต้องทำงานในบริษัท และอยู่ในกฎเกณฑ์มีระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อถือ ต่อกลุ่มลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่านักบัญชีของแต่ละองค์กรนั้น เป็นผู้ที่ช่วยสนับสนุนงานของทุกๆฝ่าย และทำหน้าที่จัดทำงบการเงินและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี เพื่อให้รายงานงบการเงิน ออกมาสู่สาธารณชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างที่สุด

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : คุณกชพร สุวรรณตัด บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

 622
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี
ช่วงหลังนี้เราจะเห็นว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเกิดขึ้นมามากมายพร้อมไอเดียที่พรั่งพรู ที่ทำให้เกิดเทรนด์และกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จมากจนทำให้สินค้าและบริการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่วายที่อยู่ๆ  ธุรกิจที่สร้างขึ้นจะเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาได้ มาดูกันว่าสิ่งที่เราต้องรู้ในการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้างก่อนที่เราจะขายดีจนเจ๊ง
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์