เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร


กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีอากรทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลและเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บจึงได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรโดยกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแต่ละรายมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเพียง 1 หมายเลข ประกอบด้วยตัวเลข 10 หลัก ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ดังนี้

      ”มาตรา 3 เอกาทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ โดยอนุมัติรัฐมนตรีการกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

เลขประจำตัวประชาชนใช้แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

      ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เฉพาะบุคคลธรรมดาที่มี และใช้เลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ใช้เลขประจำตัวประชาชนในการยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ประเภทผู้เสียภาษี

      1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(1) กรณีไม่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น คนต่างด้าว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดก ที่ยังมิได้แบ่ง(2) กรณีบุคคลธรรมดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ(3) กรณีเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2546
      2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
      3. ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา : http://www.rd.go.th/
 593
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการทำงาน เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานนอกเหนือจากเวลางานหรือกระทั่งการทำงานเป็นกะ เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การทำโอที (Overtime: OT) แก่ลูกจ้าง
งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์