ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.1 VS ภ.ง.ด.1ก

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.1 VS ภ.ง.ด.1ก



แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ

ภ.ง.ด.1 ใช้สำหรับแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียแล้วเท่านั้นและต้องทำส่งกรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือนหรือถ้ามีรหัสสำหรับยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากรสามารถยื่นได้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปทุกเดือน

ภ.ง.ด.1ก ใช้สำหรับแจ้งพนักงานทุกคนไม่ว่าจะมีรายได้ไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีก็ตามและนำส่งกรมสรรพากรแค่ปีละหนึ่งครั้งก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป

ภ.ง.ด.1ก คือใบสรุปการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส สวัสดิการอื่นที่จ่ายให้กับพนักงาน ภาษีที่นายจ้างออกแทนให้และภาษีของพนักงานรอบรายปี ต้องทำส่งเพื่อแจ้งให้สรรพากรทราบโดยไม่เสียค่าอะไรเพิ่มเติมแต่ถ้าไม่แจ้งจะต้องเสียค่าปรับนะคะ ซึ่งการยื่นแบบ

ภ.ง.ด.1ก นั้นต้องยื่นภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปซึ่งถ้าหากไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา(เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย)ต้องรับผิดทางอาญาถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือผู้ใดเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

  • เงินได้พึงประเมินที่ต้องแสดงรายการตามแบบ ภ.ง.ด.1ก เงินได้ตามมาตรา 40(1)
  • เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน 
  • เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ 
  • เงินค่าเช่าบ้านที่นายจ้างออกให้
  • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านนายจ้างที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า 
  • เงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้อื่นออกแทนให้ไม่ว่าในทอดใด 
  • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ 
  • เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

เงินได้ตามมาตรา 40(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้

  • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
  • เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
  • เงินค่าเช่าบ้านที่ผู้จ่ายเงินออกให้ 
  • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า 
  • เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ไม่ว่าในทอดใด 
  • เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
  • เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าเจ้าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นงานประจำหรือชั่วคราว

ใครคือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภาษี ?

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2) ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเท่านั้นแต่ใครที่มีการจ้างพนักงานโดยให้เงินเดือนไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ที่มีการจ้างลูกน้องมาทำงานให้เป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียวหรือเป็นเจ้าของหุ้นส่วนแล้วพนักงานที่ว่าจ้างมาได้รับเงินเดือนถึงฐานที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาต้องทำเอกสารทั้ง 2 ตัวนี้ส่วนเจ้าของธุรกิจคนเดียวที่ทำงานตามลำพังก็ไม่ต้องทำ

ต้องทำอย่างไรและเอกสารมีอะไรบ้าง?

1.แบบ ภ.ง.ด.1 (ใบปะหน้า)และใบแนบ ภ.ง.ด.1 (สำหรับลงรายละเอียดของพนักงาน)เอกสาร

2 ชนิดข้างต้นต้องจัดทำและยื่นแบบภาษีทุกเดือนรวม 12 ชุด 2.แบบ ภ.ง.ด.1ก และใบแนบ ภ.ง.ด.1ก ซึ่งเป็นการสรุป ภ.ง.ด.1 อีกที ทำแค่ชุดเดียวตอนสิ้นปี

กำหนดเวลาและสถานที่ยื่นแบบ

  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ณ สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน

ความรับผิดของผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ

  • หากไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก ภายในกำหนดเวลา (เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย)ต้องรับผิดทางอาญาถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาท(มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร) 
  • ผู้ใดเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 35ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



อ้างอิง : https://www.rd.go.th/5942.html
 495
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
วันนี้เราจะมาดูกันว่าเจ้าของจะสามารถนำเงินออกจากบริษัทได้โดยทางใดบ้าง และแต่ละทางมีข้อดี-ข้อเสียทางภาษีที่แตกต่างกันอย่างไร
การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพร้อมออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายด้วย เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์