sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
ย้อนกลับ
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศ
สภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ แม้ว่าจะเป็นมาตรฐาน
การบัญชีสำหรับผู้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (PAE) ก็ตาม แต่ในหลักคิดหรือแนวทางการพิจารณา
เงื่อนไขการรับรู้รายได้นั้น นักบัญชีที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
(NPAE) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาสาระส่วนใหญ่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้
กำหนดแนวทางสำหรับการรับรู้รายได้จากเงื่อนไขและกรณีต่างๆ เพื่อให้สามารถระบุจุดหรือภาระงานใดๆ ก็ตาม
ที่มีการกำหนดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามข้อตกลงที่ทำไว้กับลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงและ
ประกอบกับมาตรฐานชุด NPAE จะเป็นเรื่องของการพิจารณาขยายความให้ชัดเจนขึ้นถึงสถานการณ์หรือเหตุการณ์
แวดล้อมที่ทำให้เชื่อได้ว่าสามารถระบุจุดที่สามารถรับรู้รายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีดังกล่าวเป็นการยกเลิกมาตรฐานการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้หลาย
ฉบับและมีผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้าง ซึ่งแนวทางในการรับรู้รายได้ตามแนวทางใหม่นี้จะมีกรอบขั้นตอนที่
กำหนดไว้จำนวน 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
พิจารณาจากประวัติของกิจการและในอุตสาหกรรมว่ามีความจำเป็นต้องมี
สัญญาหรือไม่ ซึ่งข้อตกลงมีเป็นจำนวนมากหรือรายละเอียดมีความซับซ้อน ควรกำหนดเป็นสัญญา เพื่อให้
สามารถอ้างอิงได้
2. การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติตตามสัญญา
ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องทราบว่ามีข้อตกลงอะไรกับลูกค้าบ้าง
ซึ่งจำเป็นต้องระบุเหตุการณ์หรือกิจกรรมนั้นให้ได้เป็นรูปธรรมชัดเจน โดยปกติต้องอ้างอิงจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องได้ซึ่งควรรวมถึงการลงนามในเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมวันที่ด้วย
3. กำหนดราคาของรายการ
ฝ่ายจัดการและฝ่ายขายควรกำหนดให้มีตารางราคาขายหรือเอกสารอื่น เช่น
Price List ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีการอนุมัติราคาขายกลางล่วงหน้า ซึ่งควรมีข้อกำหนดของส่วนลดหรือ
วิธีการให้ส่วนลดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจถึงการพิจารณาราคาขายในรูปแบบการขายหรือให้บริการใน
รูปแบบต่างๆ
4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ
ในบางกรณี เมื่อมีการต่อรองจาก
ลูกค้าจำเป็นต้องคำนึงถึงการปรับปรุงเพิ่มลดราคาและข้อกำหนดที่อาจมีขึ้นในการเจรจาต่อรองนั้นๆ ซึ่งฝ่ายที่
เกี่ยวข้องต้องอนุมัติเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามนโยบายการขายหรือให้บริการ และจะปิดการขายด้วย
การกำหนดว่าจะมีเงื่อนไขที่อาจมีขึ้นอย่างไร ข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้
แล้วเสร็จซึ่งจะควบคู่ไปกับราคาขายขั้นสุดท้าย
5. การรับรู้รายได้เมื่อกิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ
ในข้อนี้ถือเป็นแนวทางที่ทำได้ง่ายที่สุด
คือ การสรุปว่าภารกิจที่ปฏิบัติตามภาระนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นหรือไม่ เพียงแต่ต้องแน่ใจให้ได้ว่ามีการรวบรวมหลักฐาน
เพื่อประกอบการรับรู้รายได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
ที่มา : วารสาร :
CPD&ACCOUNT
ตุลาคม 2562
633
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร
บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร
เรามาดูกันว่า ตัวตนหรือบุคคลิกของนักบัญชี จะมีอะไรบ้าง
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่
หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่
หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน
การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน
การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่ ?
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่ ?
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com