e-Tax Invoive by Email เพื่อลดต้นทุนและสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ประกอบการ

e-Tax Invoive by Email เพื่อลดต้นทุนและสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ประกอบการ

ระบบ e-Tax Invoice by Email

เกิดขึ้นจากโครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้ระบบการชำระเงิน และระบบภาษีของประเทศก้าวสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล

โครงการ e-Tax Invoice by Email เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำขึ้น เพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี มีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ไม่มีการบริหารจัดการด้านเอกสารที่เป็นระบบขนาดใหญ่ และอาจยังไม่พร้อมจะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนและสร้างความน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบการสามารถจัดทำ และนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้กับคู่ค้าทาง Email ผ่านการประทับรับรองเวลาและเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตต่อไป

คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะจัดทำ e-tax Invoice by Email

  1. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
  2. เป็นบุคคลธรรมดา หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และมีรายได้ไม่เกินสามสิบล้านบาทต่อปีภาษีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีภาษี 2558 เป็นต้นไป หรือตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
  3. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ ให้ จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560
  4. ไม่มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงการเสียภาษี ไม่มีประวัติการออกหรือใช้ใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

การจัดทำและนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax invoice by Email

1. การสร้างใบกำกับภาษี

  • จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 1 ฉบับ ต่อ 1 ไฟล์ โดยเป็นไฟล์ประเภทที่ตรงตามระเบียบที่กรมสรรพากรกำหนด
  • จัดทำใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ 1 ไฟล์ มีขนาดไม่เกิน 3 MB
  • ห้ามใช้การถ่ายภาพ หรือการแปลงไฟล์จากเอกสาร กระดาษให้เป็น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
หมายเหตุ:
  • ผู้ประกอบการสามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของไฟล์ประเภท PDF, Excel, Word (.PDF, .XLS, .XLSX, .DOC, .DOCX)
  • ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 เป็นต้นไป ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email จะต้องอยู่ในรูปแบบ PDF/A-3 เท่านั้น

2. ขั้นตอนการส่งใบกำกับภาษี

  1. ผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) ใช้อีเมลที่ลงทะเบียนไว้กับกรมสรรพากร ส่งอีเมลแบบใบกำกับภาษี โดยส่งตรง (Email To) ให้ผู้ซื้อ (ระบุได้ 1 email address) และสำเนา (Email CC) ให้ระบบ e-Tax invoice by Email (csemail@etax.teda.th)
  2. อีเมล 1 ฉบับ ต้องแนบไฟล์เพียง 1 ไฟล์
  3. หัวข้ออีเมล ต้องมีรูปแบบและลำดับที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
    • ใบกำกับภาษี : [วันที่ออกใบกำกับภาษี][INV][เลขที่ใบกำกับภาษี]
    • ใบเพิ่มหนี้ : [วันที่ออกใบเพิ่มหนี้][DBN][เลขที่ใบเพิ่มหนี้][เลขที่ใบกำกับภาษีเดิม]
    • ใบลดหนี้ : [วันที่ออกใบลดหนี้][CDN][เลขที่ใบลดหนี้][เลขที่ใบกำกับภาษีเดิม]
    • การออกใบกำกับภาษีใหม่แทนใบที่ถูกยกเลิก : [วันที่ออกใบกำกับภาษี][INV][เลขที่ใบกำกับภาษีใหม่][เลขที่ใบกำกับภาษีเดิมที่ยกเลิก]
ตัวอย่างเช่น : ใบกำกับภาษีเลขที่ 101/2559 ออกวันที่ 1 สิงหาคม 2559 หัวข้ออีเมลจะต้องระบุว่า
[01082559][INV][101/2559]

3. การตรวจสอบใบกำกับภาษี

  1. กรณีใบกำกับภาษีเป็นไฟล์ PDF ระบบจะส่งไฟล์ใบกำกับภาษีกลับไปจำนวน 1 ไฟล์ จะมีการประทับรับรองเวลาที่อยู่คุณสมบัติของไฟล์อยู่แล้ว
  2. กรณีใบกำกับภาษีเป็นไฟล์ประเภทอื่นที่ไม่ใช่ PDF ระบบจะส่งไฟล์ใบกำกับภาษีกลับไปจำนวน 2 ไฟล์ คือไฟล์ใบกำกับภาษี 1 ไฟล์ และไฟล์ข้อมูลประทับรับรองเวลา 1 ไฟล์ ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบว่าไฟล์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการประทับเวลาหรือถูกเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ด้วยวิธีการอัพโหลดไฟล์ใบกำกับภาษีและไฟล์ข้อมูลประทับรับรองเวลาที่ต้องการตรวจสอบได้ที่ https://validation.etax.teda.th โดยสามารถตรวจสอบได้ทั้งไฟล์ PDF (upload 1 ไฟล์) และไฟล์ประเภทอื่นที่ไม่ใช่ PDF (upload 2 ไฟล์)
หมายเหตุ:
  • ผู้ประกอบการมีหน้าที่เก็บรักษาใบกำกับภาษีและอีเมลตามที่กฏหมายกำหนด

วิธีการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Email

วิธีการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Email
  1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร (http://rd.go.th) เพื่อยื่นคำขอ
  2. กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และตรวจสอบข้อมูล
  3. แจ้งอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกับกรม
  4. พิมพ์เอกสาร กอ.01 และลงนาม
  5. สแกน กอ.01 และอัพโหลดเอกสาร
  6. กรมสรรพากรจะทำการตรวจสอบความถูกต้อง (หากเอกสารไม่ครบถ้วนถูกต้อง ให้ทำการอัพโหลดใหม่ภายใน 7 วันทำการ)
  7. กรมสรรพากรจัดส่งเอกสารยืนยันทางไปรษณีย์พร้อมรหัสยืนยัน (Activate Code)
  8. ยืนยันตัวตนทางเว็บไซต์ และกำหนดรหัสผ่านภายใน 15 วันทำการ
  9. แจ้งอีเมลที่ประสงค์จะใช้ในการส่งใบกำกับภาษี
หมายเหตุ:
  • บุคคลธรรมดา : ภาพถ่าย กอ.01 และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
  • นิติบุคคล: ภาพถ่าย กอ.01 ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนาม
  • กรณีที่ email ของท่านสามารถใช้งานได้แล้ว ระบบจะส่ง email แจ้งผลไปยัง email ที่ได้แจ้งลงทะเบียนไว้ เพื่อยืนยันสิทธิ์การใช้
  • กรณีที่ email ใดที่ได้แจ้งขอยกเลิกการใช้งาน ระบบจะส่ง email แจ้งยกเลิกไปยัง email ที่ขอยกเลิก เพื่อยืนยันการยกเลิก

ประโยชน์ของการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)

  1. ลดต้นทุนการจัดพิมพ์และจัดส่งเอกสารใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน
  2. ลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเมื่อกรมสรรพากรได้รับข้อมูลภาษีซื้อ-ภาษีขาย ทางอิเล็กทรอนิกส์ครบถ้วนแล้ว ระบบจะจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายได้โดยอัตโนมัติ
  3. ประหยัดพื้นที่การจัดเก็บเอกสาร
  4. มีความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์การซื้อขายสินค้าและบริการ
  5. มีความน่าเชื่อถือและผลผูกพันทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
  6. สนับสนุนการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
Flow ภาพรวมการทำงานของโปรแกรม Prosoft e-Tax

Flow ภาพรวมการทำงานของโปรแกรม Prosoft e-Tax

การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบกำกับภาษี, ใบเพิ่มหนี้, ใบลดหนี้, ใบเสร็จรับเงิน จะต้องมีรูปแบบไฟล์ ขนาดไม่เกิน 3 MB

  • .pdf (Portable Document Format)
  • .doc, .docx (Microsoft Word Document)
  • .xls, .xlsx (Microsoft Excel)

ข้อมูลไฟล์เจะต้องไม่ใช่รูปภาพ ห้ามใช้การถ่ายภาพหรือการแปลงไฟล์จากเอกสารกระดาษให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบ e-tax invoice by email เพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถใช้ต่อสู้ในชั้นศาลในกรณีที่เกิดข้อพิพาท ทั้งนี้วิธีการประทับรับรองนี้จะทำด้วยวิธีไหนขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ

Flow ภาพรวมการทำงานของโปรแกรม Prosoft e-Tax

จัดทำข้อความให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

Prosoft WINSpeed กับ การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. ตั้งค่าข้อมูลองค์กร เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี

หน้าจอตั้งค่าข้อมูลองค์กร

หน้าจอตั้งค่าข้อมูลองค์กร

2. กำหนดประเภทเอกสาร เช่น ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี, ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

หน้าจอตั้งค่าข้อมูลองค์กร

หน้าจอกำหนดประเภทเอกสาร

3. ตั้งค่าเชื่อมต่อ Prosoft WINSpeed กับ Service Provider iNet

หน้าจอตั้งค่าเชื่อมต่อ Prosoft WINSpeed กับ iNet

หน้าจอตั้งค่าเชื่อมต่อ Prosoft WINSpeed กับ iNet

4. กำหนดที่จัดเก็บ File XML หลังจากประทับตรา CA แล้ว

หน้าจอจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

หน้าจอจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

5. จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

หน้าจอการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

หน้าจอการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

หน้าจอการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

หน้าจอการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://etax.teda.th/

 444
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการทำงาน เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานนอกเหนือจากเวลางานหรือกระทั่งการทำงานเป็นกะ เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การทำโอที (Overtime: OT) แก่ลูกจ้าง
งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์