กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง

กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง


กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. สำเนาแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นชำระภาษีไว้ในประเทศไทย เช่น ภ.ง.ด. 54
2. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากรที่กรมสรรพากรออกให้
3. หลักฐานแสดงการส่งเงินได้ดังกล่าวออกนอกประเทศไทย เช่น คำขออนุมัติซื้อเงินตราต่างประเทศที่ยื่นผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบบ ธ.ต. 4 (ถ้ามี) ใบแจ้งหักบัญชีลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ (Debit Note) ในกรณีที่ได้ส่งเงินได้ดังกล่าวออกนอกประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ จะต้องแสดงอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันส่งเงิน หลักฐานแสดงการรับเงิน (กรณีการจ่ายเงินในประเทศ)
4. สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)
5. หนังสือเรียกเก็บเงินของผู้รับเงินได้ในต่างประเทศ (Invoice)
6. เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการพิจารณา เช่น สัญญา หรือ ข้อตกลงที่ก่อให้เกิดการจ่าเงินได้ (กรณีที่สงสัยว่าเป็นการจ่ายเงินได้ประเภทใด) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับ และผู้จ่ายเงินได้เป็นภาษาอังกฤษ

กรณีการจ่ายเงินได้ประเภทเงินปันผล นอกจากหลักฐานข้างต้นจะต้องพิจารณาหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้


1. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
2. มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้จ่ายเงินปันผล
3. ภ.ง.ด. 50 รอบบัญชีที่ประกาศจ่ายเงินปันผล

แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ขอบคุณบทความจาก : www.rd.go.th
 577
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล
สินทรัพย์ในทางบัญชี หมายถึง ทรัพยากรที่มีและอยู่ในการควบคุมของกิจการ สินทรัพย์นี้อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งสามารถตีราคามูลค่าเป็นเงินได้ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผล ของ เหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคตเราสามารถ
“ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?”
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์