การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร

การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร


คนทำงานที่ออกจากงานแล้ว จะเกิดข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรกับสิทธิประกันสังคมที่ตนเองมี ต้องส่งเงินเข้ากองทุนต่อหรือไม่ แล้วเราจะได้ใช้สิทธิอะไรบ้างเมื่อลาออกจากงาน ต้องยอมรับว่าคนทำงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบประกันสังคม เพราะอยู่ในสถานะลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ๆ แต่มีน้อยคนที่จะรู้และเข้าใจอย่างจริงจังว่า เราสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างจากประกันสังคม เมื่อเราลาออกจากงานแล้ว

คนทำงานที่ลาออกจากงานแล้ว ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 (คนทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป) มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) โดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากลาออกจากงาน

ผู้ประกันตนต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อรักษาสิทธิของการเป็นผู้ประกันตนให้คงอยู่ และทำให้เราสามารถใช้สิทธิในการรักษาอยู่ต่อไป แม้ว่าเราจะลาออกจากงานที่ทำอยู่ก็ตาม ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงไม่ต้องกังวลใจว่าจะต้องทิ้งสิทธิประกันสังคมของตนเองไป เพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอนให้เรียบร้อย แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำงานอยู่ในบริษัทใดแล้วก็ตาม เราก็จะยังคงรักษาสิทธิที่เรามีไว้ได้ โดยอยู่ในฐานะของผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) แทน

ประกันสังคมมาตรา 39 มีขั้นตอนการสมัครอย่างไร

          คนทำงานที่เพิ่งลาออกจากงาน และต้องการสมัครใช้สิทธิประกันสังคมต่อ ให้ผู้ประกันตนสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  • คุณสมบัติ – ผู้สมัครต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน โดยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ
  • หลักฐานการสมัคร
    • แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
    • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา
  • ยื่นใบสมัคร – ผู้ประกันตนต้องยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเอง โดยสามารถยื่นใบสมัครได้ที่
    • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง (กทม) และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
    • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา (ภูมิภาค)

เงื่อนไขการส่งเงินสมทบกองทุน

          ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนต่อสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองต่อเนื่องจาการประกันตนในมาตรา 33 โดยจะได้รับความคุ้มครองใน 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

          ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวที่สำนักงานประกันสังคมต้องรู้ เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล ควรแจ้งการเปลี่ยงแปลงล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน พร้อมแนบสำเนาหลักฐานด้วย

          ส่วนในกรณีที่ผู้ประกันตนต้องการลาออก หรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นลายลักษณ์อักษรทันที แต่ถ้าได้ทำงานในสถานประกอบการใหม่ ให้นายจ้างใหม่แจ้งขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องแจ้งลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 แต่อย่างใด



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณที่มา : https://th.jobsdb.com/

 386
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการทำงาน เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานนอกเหนือจากเวลางานหรือกระทั่งการทำงานเป็นกะ เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การทำโอที (Overtime: OT) แก่ลูกจ้าง
งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์