ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร


ลูกหนี้กรรมการคืออะไร

บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการนั้นมีได้หลายแบบ เช่น

  • กรรมการยืมเงินออกไปจากกิจการจริงๆ
  • กรรมการนำเงินภายในกิจการไปใช้ส่วนตัว
  • จดทะเบียนบริษัท ระบุทุนชำระจำนวนมากแต่ไม่มีการชำระเงินกันจริง
  • เงินหายจากบริษัทสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี หรือไม่ทราบสาเหตุ
  • ปิดบัญชีไม่ลงตัว นักบัญชีจึงบันทึกผลต่างในบัญชีนี้ก่อน
  • ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรไม่ยอมรับ จึงบันทึกไว้ในเงินให้กู้ยืมกรรมการ

ถ้าลองวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการแล้วจะพบว่า ถ้าเป็นการที่กรรมการยืมเงินไปใช้จริงๆ เราคงพอรับได้เพราะมันเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แต่ต้น แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวมา อาจจะต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า ทุกวันนี้เราแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและเงินธุรกิจกันอย่างไร เพราะเมื่อไรก็ตามที่ยังแยกกระเป๋าไม่ได้ บัญชีลูกหนี้กรรมการก็จะเกิดขึ้นในงบการเงินอยู่เสมอ

นอกจากนี้แล้วเรื่องความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารที่ใช้สำหรับการบันทึกรายการจ่ายชำระเงิน ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องระวัง เพราะถ้าเราไม่ให้ข้อมูลแก่นักบัญชีให้ครบถ้วน เงินที่หายไปจากบัญชีอาจถูกเหมารวมว่าเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการทั้งหมด

ที่จึงเป็นที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงตกเป็นลูกหนี้บริษัท ด้วยจำนวนเงินก้อนโต

ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี บัญชีนี้อาจสร้างปัญหาให้เราในอนาคต เช่น ทำให้งบการเงินไม่ถูกต้อง ไม่สะท้อนสภาพความเป็นจริงของกิจการ และภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ธุรกิจเฉพาะที่กิจการต้องจ่าย เพราะกฎหมายกำหนดภาษี ไม่ยอมให้กิจการจะให้กู้แบบฟรีๆ โดยไม่มีดอกเบี้ยระหว่างกัน


ขอบคุณที่มา : zerotoprofit.co

 825
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
การบริจาค ถือเป็นการให้และการเสียสละที่สามารถช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนกิจการสาธารณกุศล สาธารณะประโยชน์ การศึกษา และการกีฬา โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนนอกจากจะทำให้ผู้ให้มีความสุขแล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์