ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร


ลูกหนี้กรรมการคืออะไร

บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการนั้นมีได้หลายแบบ เช่น

  • กรรมการยืมเงินออกไปจากกิจการจริงๆ
  • กรรมการนำเงินภายในกิจการไปใช้ส่วนตัว
  • จดทะเบียนบริษัท ระบุทุนชำระจำนวนมากแต่ไม่มีการชำระเงินกันจริง
  • เงินหายจากบริษัทสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี หรือไม่ทราบสาเหตุ
  • ปิดบัญชีไม่ลงตัว นักบัญชีจึงบันทึกผลต่างในบัญชีนี้ก่อน
  • ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรไม่ยอมรับ จึงบันทึกไว้ในเงินให้กู้ยืมกรรมการ

ถ้าลองวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการแล้วจะพบว่า ถ้าเป็นการที่กรรมการยืมเงินไปใช้จริงๆ เราคงพอรับได้เพราะมันเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แต่ต้น แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวมา อาจจะต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า ทุกวันนี้เราแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและเงินธุรกิจกันอย่างไร เพราะเมื่อไรก็ตามที่ยังแยกกระเป๋าไม่ได้ บัญชีลูกหนี้กรรมการก็จะเกิดขึ้นในงบการเงินอยู่เสมอ

นอกจากนี้แล้วเรื่องความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารที่ใช้สำหรับการบันทึกรายการจ่ายชำระเงิน ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องระวัง เพราะถ้าเราไม่ให้ข้อมูลแก่นักบัญชีให้ครบถ้วน เงินที่หายไปจากบัญชีอาจถูกเหมารวมว่าเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการทั้งหมด

ที่จึงเป็นที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงตกเป็นลูกหนี้บริษัท ด้วยจำนวนเงินก้อนโต

ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี บัญชีนี้อาจสร้างปัญหาให้เราในอนาคต เช่น ทำให้งบการเงินไม่ถูกต้อง ไม่สะท้อนสภาพความเป็นจริงของกิจการ และภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ธุรกิจเฉพาะที่กิจการต้องจ่าย เพราะกฎหมายกำหนดภาษี ไม่ยอมให้กิจการจะให้กู้แบบฟรีๆ โดยไม่มีดอกเบี้ยระหว่างกัน


ขอบคุณที่มา : zerotoprofit.co

 1050
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
ยื่นภาษีย้อนหลัง ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เช็กเลยมีอะไรบ้าง
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์