ทำงานล่วงเวลา กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการควรรู้

ทำงานล่วงเวลา กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการควรรู้

ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการทำงาน เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานนอกเหนือจากเวลางานหรือกระทั่งการทำงานเป็นกะ เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การทำโอที (Overtime: OT) แก่ลูกจ้าง


เจาะลึกกฎหมายแรงงานทำงานล่วงเวลา

           ตามปกติแล้วเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานของลูกจ้างไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อรวมเวลาทำงาน 1 สัปดาห์ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง แต่เมื่อต้องให้พนักงานทำงานล่วงเวลา สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้ กฎหมายแรงงานในด้านทำงานล่วงเวลามี ดังนี้

  • สถานประกอบกิจการ ต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาของลูกจ้าง (ส่วนที่เกินจากชั่วโมงการทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง) ไม่เกินสัปดาห์ละ 24 ชั่วโมงใน 1 ปีแรก หลังจากได้รับการรองรับมาตรฐานแล้ว ในปีที่ 2 ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 18 ชั่วโมง และในปีต่อๆ ไปต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความจำเป็นของลักษณะงาน หรือเป็นการทำงานในช่วงสั้นๆ ตามสถานการณ์พิเศษของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น
  • ห้ามมิให้ผู้ประกอบการให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ยกเว้นในกรณีหากมีการหยุดงานจะส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานที่ฉุกเฉิน ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นครั้งคราว โดยนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
  • ผู้ประกอบการอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้ สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม สโมสร สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่การผลิต การจำหน่ายและการบริการ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป
  • ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม./สัปดาห์

สิ่งที่ต้องรู้การจ่ายค่าล่วงเวลาและทำงานวันหยุด

  1. การทำงานเกิน 8 ชั่วโมง กรณีค่าจ่างรายเดือน หากนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ให้ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
  2. การทำงานเกิน 8 ชั่วโมง กรณีไม่ได้รับค่าจ้างรายเดือน หากนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างรายเดือน ให้นายจ้างจ่ายค้าจ้างในวันทำงานสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง ต้องจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าเท่าครึ่งของอัตราค่าจ่างต่อชั่วโมงในวันงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกิน
  3. การทำงานในวันหยุด ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินหรือไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่เกินโดยคำนวณเป็นหน่วย

           แม้ว่าการทำงานล่วงเวลา พนักงานจะได้รับ ‘ค่าจ้าง’ มากขึ้นและเป็นแรงจูงใจให้หลายคนอยากทำงานมากขึ้น แต่การทำงานล่วงเวลา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน จากการทำงานหลายชั่วโมงมากเกินไป ความรู้สึกเหนื่อยล้าและความเครียด ซึ่งท้ายที่สุดพนักงานอาจ Burnout หรือหากเกิดกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างโดยไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย อาทิ เมื่อลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน

           สิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรละเลย คือ เสริมสร้างสุขภาพกายและใจที่ดีในการทำงานล่วงเวลาให้กับพนักงาน ได้แก่

  • เช็กลิสต์ชั่วโมงการพักผ่อน การทำงานล่วงเวลาของพนักงาน ควรต้องใส่ใจว่ามีเวลาพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงานและขณะเดียวกันการทำงานที่หนักจนเกินไปไม่ได้สะท้อนถึงคุณภาพของการทำงาน
  • เรื่องสุขภาพก็สำคัญ ควรใส่ใจสุขภาพของพนักงานโดยการเช็คเรื่องการลาป่วย เนื่องจากผู้ที่ทำงานล่วงเวลาจะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว โดยมีโอกาสเสี่ยงเกิดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • ปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ สร้างมุมมองใหม่ๆ ให้กับพนักงานมองถึงการทำงานล่วงเวลาเป็นโอกาสในการขัดเกลาทักษะและสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ และโอกาสการเลื่อนขั้นในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เร็วขึ้น
  • ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เมื่อทำงานล่วงเวลาในสัปดาห์แรก สัปดาห์ต่อไปต้องลดเวลาทำงานลงโดยให้เป็นไปตามชั่วโมงงานที่กำหนด เพื่อสร้างสมดุลชีวิตให้กับพนักงานทั้งในส่วนตัวและการบริหารเวลาครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น
  • ทุกอย่างต้อง Win-Win คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่าจ้าง เป็นแรงจูงใจให้พนักงานทำงานล่วงเวลา แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องหมั่นตรวจสอบผลประโยชน์ของพนักงานที่ได้รับ เช่น พนักงานได้รับค่าจ้างหรือไม่อย่างไร

 
ขอบคุณที่มา : https://th.jobsdb.com

 231
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ
“ลาป่วยกรณีไหนต้องใช้ใบรับรองแพทย์” เป็นอีกหนึ่งปัญหาคาใจชาวออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ก็ตาม เพราะไม่แน่ใจว่าลาป่วยแบบนี้ได้ไหม จะให้เอ่ยปากถามตรง ๆ ก็กลัวจะได้คำตอบว่ากฎระเบียบของบริษัทเป็นแบบนี้ ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าในใจจะแอบสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า สวัสดิการวันลาที่บริษัทให้มันแฟร์กับพนักงานอย่างเรา ๆ หรือเปล่า? ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ ยิ่งในยุคแห่งโควิด-19 ที่วันลาป่วยต้องหายไปฮวบฮาบจนทำให้หลายคนวันลาป่วยแทบหมด ไม่เหลือให้ป่วยอะไรได้อีก เราเลยอยากชวนมาไขข้อข้องใจเรื่องสิทธิการลาป่วยที่มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราควรได้กันดีกว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์