ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด

ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด



วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด
โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร


เมื่อวงจรธุรกิจหมุนซ้ำๆ แล้วมีเงินสดเพิ่มมากขึ้น เราจึงเรียกว่า “กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร” สิ่งที่สำคัญในการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ คือ การใช้เงินทุนปริมาณน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งทำให้กระแสเงินสดสำหรับการบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

กำไร คือส่วนต่างของยอดขาย (ยอดขายค้างรับ) กับค่าใช้จ่าย (ต้นทุนสินค้า) โดยปกติแล้วจะคำนวณกำไรเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า แต่ทว่าการเก็บเงินจากยอดขายค้างรับจะทำหลังจากนั้น ทำให้การคำนวณกำไรกับการเพิ่มขึ้นของเงินสดมีจังหวะที่ต่างกัน

ในกรณีที่กำไรกับกระแสเงินสดสำหรับการบริหารมีความแตกต่างกันมาก เมื่อมีกำไรเกิดขึ้น ก็เอาเงินที่ได้จากการขายไปใช้เสียหมด และเมื่อผลิตสินค้าที่เหมือนกันอีกครั้งหนึ่ง ก็ปรากฎว่าครั้งนี้ขายไม่ได้เลย แต่ต้องปิดบัญชี ถึงตอนนี้ในมือไม่มีเงินสดคงเหลืออยู่ แต่ทว่าทางการบัญชีกลับปรากฎว่ามีกำไรเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะขายสินค้าหมด แต่ไม่สามารถเก็บยอดขายค้างรับได้เลย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็จะเหมือนกัน ดังนั้น การที่มีกำไร (เป็นบวก) กับการที่มีเงินสดอยู่ในมือเป็นคนละเรื่อง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ตารางที่อธิบายการเพิ่มลด และยอดคงเหลือของเงินสดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า ตารางกระแสเงินสด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

1. กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร (Cash Flow /CF การบริหาร)

ในวงจรธุรกิจ เราเรียกเงินสดที่เพิ่มขึ้นว่า “CF การบริหาร” หมายถึง มูลค่าที่เกิดจากการนำค่าเสื่อมราคาบวกเข้ากับกำไร (ยอดขาย-ค่าใช้จ่าย) งวดนี้ จากนั้นนำส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนดำเนินการ (สินค้าคงคลัง+ยอดขายค้างรับ-ยอดซื้อค้างจ่าย) ไปหักออก การที่เอาค่าเสื่อมราคาบวกเข้าไปด้วย เหตุผลก็คือ ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ทำให้เกิดการจ่ายเงินสดออกไปนั่นเอง หมายความว่า ถ้าหากว่าเงินทุนดำเนินการมีเพิ่มขึ้นมากกว่า กำไร+ค่าเสื่อมราคา (เรียกว่า กำไรเงินสด) ก็จะทำให้ CF การบริหารติดลบ จึงอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “บัญชีถูกต้อง แต่เงินสดไม่พอ”

2. กระแสเงินสดสำหรับการลงทุน (Cash Flow /CF การลงทุน)

การรับหรือจ่ายเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินถาวร เรียกว่า “CF การลงทุน” ในทางรูปธรรมจะมีการซื้อหรือขายเครื่องจักรอุปกรณ์ อาคาร ที่ดิน หุ้นของบริษัทลูก การซื้อขายหุ้นที่มีอยู่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการลงทุน การให้กู้ หรือคืนเงินกู้ให้บริษัทลูก เป็นต้น บริษัทที่มีความแข็งแกร่งจะมีการดำเนินกิจกรรมการลงทุนอย่างจริงจัง ดังนั้นค่าตัวเลขนี้มักจะติดลบ หรือเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทพยายามจะไม่ลงทุน CF การบริหาร ก็จะลดน้อยลง บริษัทจะอยู่ต่อไปได้อย่างน้อยที่สุดจำเป็นต้องมีรายจ่ายเพื่อการลงทุนให้ เพียงพอที่จะรักษาสภาพปัจจุบันไว้ ตัวเลขที่ได้จากการนำ CF การลงทุน ไปลบออกจาก CF การบริหาร เรียกว่า “Free Cash Flow (FCF)” ในการบริหารกระแสเงินสดนั้น โดยหลักแล้ว FCF จะต้องมีสภาพเป็นบวก หมายความว่า “ผู้บริหารควรจะทำให้ CFC การบริหารมีมากที่สุด แล้วทำการลงทุนที่มีประสิทธิผลภายในกรอบนั้น ๆ”

3. กระแสเงินสดทางการเงิน (Cash Flow /CF ทางการเงิน)

การกู้เงินจากธนาคาร การออกพันธบัตรบริษัท การออกหุ้น (เพิ่มทุน) การจ่ายเงินปันผล การซื้อหุ้นบริษัทตัวเอง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการรับจ่ายเงินสดเพื่อการสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ จึงเรียกว่า “CF ทางการเงิน” ถ้ามองจากจุดยืนของการบริหารกระแสเงินสด การลงทุนควรจะอยู่ภายในกรอบของ CF การบริหาร แต่ทว่า การลงทุนซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือการซื้อกิจการบริษัทลูก ยอดเงินเพียงเท่านั้นคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องจัดหาจากการกู้ยืมธนาคารหรือการเพิ่มทุน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย
 : หนังสือ “ร้านไหนกำไรมากกว่ากัน” โดย Atsumu Hayashi แปลโดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์
 574
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บัญชีกระแสรายวัน คือประเภทบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องประกอบกิจการต่างๆ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือพาณิชย์ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยจัดการเรื่องการเงินในเชิงธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ โดยเฉพาะเวลาจะทำการโอนหรือจัดการด้านธุรกิจต่างๆ ด้วยวงเงินจำนวนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นบัญชีเงินหมุนเวียน และใช้ออกเช็คในการเบิกจ่ายเงิน โดยสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชีได้ ซึ่งทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพียงส่วนที่เราเบิกเงินเกินเท่านั้น แต่เป็นประเภทบัญชีที่ไม่ได้รับดอกเบี้ย
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้
ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์