ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ


ภาษีคำนวณอย่างไร

            กฎหมายระบุไว้ว่าบุคคลที่มีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามฐานภาษีแบบขั้นบันได โดยเงินได้สุทธิที่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนั้น เป็นดังนี้
   

เงินได้สุทธิ     =    เงินได้พึงประเมินทั้งปี - ค่าใช้จ่าย (ตามกฎหมายกำหนด) - ค่าลดหย่อน


เมื่อทราบยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ดังนี้

 ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่  ช่วงเงินได้สุทธิแต่ละขั้น อัตราภาษี (ร้อยละ)
 ภาษีแต่ละขั้น
 0-150,000 บาท  150,000 บาท  ได้รับยกเว้น  -
 150,001-300,000 บาท  150,000 บาท 5  7,500 บาท
 300,001-500,000 บาท  200,000 บาท 10  20,000 บาท
 500,001-750,000 บาท  250,000 บาท 15  37,500 บาท
 750,001-1,000,000 บาท  250,000 บาท  20  50,000 บาท
 1,000,001-2,000,000 บาท  1,000,000 บาท  25  250,000 บาท
 2,000,001-4,000,000 บาท  2,000,000 บาท  30  600,000 บาท
 4,000,001 บาทขึ้นไป    35  


รายได้เท่าไรจึงเริ่มเสียภาษี

            การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินทั้งปีเท่ากับ 240,000 บาท (รายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท) จะยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการคำนวณเป็นดังนี้

            เงินได้พึงประเมินทั้งปี                                                                    240,000    บาท
            หัก ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 40 ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท)    (60,000)    บาท
            หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                                  (30,000)    บาท
            เงินได้สุทธิ                                                                                 150,000    บาท

            เมื่อเงินได้สุทธิอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงขั้นเงินได้สุทธิที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ทำให้ยังไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่เริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือ ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาท นั่นเอง
 

            อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณภาษีแล้ว ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม แต่หากมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด อย่างเช่น ผู้ที่ทำงานประจำกินเงินเดือน หากมีรายได้เกิน 50,000 บาท ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ โดยยื่นภายใน 31 มีนาคมของปีถัดไปนะคะ


 891
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการทำงานในธุรกิจเป็นอย่างมาก และยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมาก งานบัญชีถือเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมของธุรกิจ ชี้วัดสุขภาพทางการเงินขององค์กร ว่ามีกำไรขาดทุนมากน้อยเพียงใด ในยุคที่การตัดสินใจของลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำบัญชีบนกระดาษที่ใช้เอกสารจำนวนมากอาจทำให้ไม่ทันความต้องการ การมีเครื่องมือในการทำบัญชีเป็นตัวช่วยให้งานบัญชี รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมาก
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี  

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์