ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย



การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • 1. บุคคลธรรมดา : ใช้แบบ ภ.ง.ด.3 2. นิติบุคคล : ใช้แบบ ภ.ง.ด.53

กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีเอกสารประกอบการบัญชี ดังนี้

  • ใบสำคัญจ่าย
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป)
  • สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่าย)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั่นๆค่ะ

1. ใบสำคัญจ่าย เช่น ค่าบริการ ต้องมี

  • ชื่อ “คนรับ“ ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคลจ่ายให้
  • จำนวนเงินค่าบริการ
  • จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ยอดที่ต้องจ่ายจริง

2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ( สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป )

  • **สำหรับ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคล ที่หักก่อนจ่าย มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับผู้ถูกหัก และต้องนำส่งภาษีเงินได้นี้ ให้กับกรมสรรพากร จึงจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เพราะถ้าหากไม่ทำ ไม่นำส่ง ค่าใช้จ่ายนี้สามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ แต่ในทางภาษีจะไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของปีนั้นๆได้ ทั้งนี้จะถูกบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้กำไรทางภาษีมากขึ้น และเสียภาษีมากขึ้น

3. สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่ายผ่าน Mobile Banking) **จ่ายเป็นเงินสด ก็ไม่ต้องแนบ**

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั้นๆค่ะ

ข้อสรุป ***ก่อนจ่ายเงินได้ให้กับคนรับ อย่าลืม!หักก่อนจ่าย และที่สำคัญ*หักไว้แล้วต้องนำส่งกรมสรรพากรด้วยนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : Link

 1239
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์