ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?

ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?


หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

ผู้สอบบัญชีคือใคร?

ผู้สอบบัญชี คือ บุคลภายนอกที่มีใบอนุญาตและเป็นอิสระจากกิจการ มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่างบการเงินของกิจการแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร  โดยการที่จะได้รับใบอนุญาตผู้สอบบัญชี  บุคคลนั้นจะต้องผ่านการทดสอบและจะต้องมีชั่วโมงฝึกงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือกรมสรรพากรกำหนด นอกจากนี้ผู้สอบบัญชียังช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดอ่อนการควบคุมภายในของกิจการที่พบระหว่างการตรวจสอบให้แก่ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการได้อีกด้วย

ผู้สอบบัญชี มีกี่ประเภท?

ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีมี 2 ประเภท ได้แก่

  1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA : Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
  2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax Audittor) คือ ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
ประภทผู้สอบบัญชี สิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชี
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ดังนั้นกิจการจะต้องคำนึงถึง "ประเภทและขนาด" ของกิจการในการเลือกผู้สอบบัญชี

โดยหากเป็น "บริษัทจำกัด" งบการเงินจะต้องถูกรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น

หน้าที่ของผู้สอบบัญชี คืออะไร?

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ดังนี้

  1. ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยปฏิบัติงานตามแนวทางที่สภาวิชาชีพบัญชี หรือ กรมสรรพากร กำหนด
  2. จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อรายงานผลการตรวจสอบ

บริษัทจำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีหรือไม่?

จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลเหล่านี้ ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินของตนก่อนจะนำส่งหรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปี

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่าง ประเทศประกอบธุรกิจในไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • มูลนิธิ สมาคม
  • นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร

รู้หรือไม่? - การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี นิติบุคคลและผู้แทนต้อง ระวังโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท!! 

นอกจาก นี้การไม่นำส่งงบการเงิน หรือไม่ยื่นเสียภาษี ก็จะมีโทษ ปรับอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น

  • ไม่ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และวันละไม่เกิน 1,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ไม่จัดทำ/ไม่ยื่นงบการเงิน: ระวังโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link

 1443
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA)
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
ช่วงหลังนี้เราจะเห็นว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเกิดขึ้นมามากมายพร้อมไอเดียที่พรั่งพรู ที่ทำให้เกิดเทรนด์และกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จมากจนทำให้สินค้าและบริการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่วายที่อยู่ๆ  ธุรกิจที่สร้างขึ้นจะเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาได้ มาดูกันว่าสิ่งที่เราต้องรู้ในการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้างก่อนที่เราจะขายดีจนเจ๊ง
นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายในงบการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์