“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือใคร สำคัญแค่ไหนต่อนักบัญชีและธุรกิจ?

“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือใคร สำคัญแค่ไหนต่อนักบัญชีและธุรกิจ?

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตำแหน่งที่สำคัญที่สุดของในองค์กรคือ "นักบัญชี (Accountant)" ผู้ที่ทำหน้าที่จัดการและบันทึกข้อมูลทางการเงินและบัญชีขององค์กร รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงิน, การบันทึกธุรกรรมการเงิน, การเตรียมเอกสารทางบัญชี, การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชี, การจัดทำรายงานทางการเงิน, และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดทางการเงินต่างๆ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องมีการจัดการกับความรับผิดชอบที่สำคัญหลายๆ อย่าง ที่ส่งผลต่อความสำเร็จโดยรวมขององค์กร ดังนั้นจึงทำให้องค์กรและธุรกิจบางแห่งมองหา “ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” ให้เข้ามาช่วยวางแผน และให้คำปรึกษากับองค์กรด้านภาษีอากรต่างๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น และสามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้

“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือใคร สำคัญแค่ไหนต่อนักบัญชีและธุรกิจ?

“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือใคร?

“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” (Tax Consultant/Tax Advisor) คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ แก้ไขปัญหาภาษีต่างๆ ให้แก่องค์กร และข้อมูลทางด้านการเงินสามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบัน “ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” ถือเป็นอาชีพที่ต้องการในตลาดเป็นอย่างมาก

หน้าที่ของ “ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี”

หน้าที่ของ “ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี”
  1. ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี ให้แก่เจ้าของธุรกิจและนักบัญชี
  2. ยื่นแบบรายการทางภาษี เพื่อเสียภาษีที่ถูกต้อง รวมไปถึงการจัดทำเอกสารทางด้านภาษี เช่น รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีและประจำปี เป็นต้น
  3. ติดต่อประสานงานกับกรมสรรพากร เพื่อชี้แจ้งและอธิบายต่อกรมสรรพากรหากธุรกิจมีปัญหาทางด้านภาษี
  4. การวางแผนภาษีที่ดีให้กับองค์กร ควรยื่นภาษีให้ถูกต้องตรงกับรอบการยื่นภาษี และเสียภาษีอย่างถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงจากการโดนสรรพากรตรวจสอบ

ประโยชน์ของการมีที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษีในองค์กร

  • ความถูกต้องและเป็นมาตรฐาน : ดำเนินงานทางการเงินและบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากร ช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • ประหยัดเวลาและทรัพยากร : การจ้างที่ปรึกษาจะช่วยประหยัดเวลาของธุรกิจ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาในการทำงานบัญชีและรายงานการเงินที่ซับซ้อนด้วยตัวเอง ที่ปรึกษาจะเข้ามาช่วยในงานบัญชีส่วนนี้ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการบริหารธุรกิจส่วนอื่น
  • ลดความเสี่ยงทางด้านภาษี : ที่ปรึกษาภาษีช่วยในการวางแผนภาษีและใช้กลยุทธ์ทางภาษีเพื่อลดภาระภาษีของบุคคลหรือธุรกิจ โดยการระบุความเหมาะสมของการลงทุนทางภาษีและหักค่าใช้จ่ายทางภาษีที่ถูกต้อง
  • ป้องกันความผิดพลาดภาษี : การเตรียมเอกสารภาษีและการลงทะเบียนในระบบภาษีที่ถูกต้อง ช่วยลดความเสี่ยงในการเผชิญกับการตรวจสอบภาษี ที่ปรึกษาภาษีมีช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจส่งผลให้เกิดค่าปรับและโทษภาษีที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  • การวางแผนการเงิน : ช่วยในการวางแผนการเงินและเรื่องภาษี ช่วยให้ผู้เสียภาษีรับข้อมูลที่จำเป็นเพื่อตัดสินใจในการลงทุนและการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
  • คำปรึกษาทางภาษีที่กำเนิดมูลค่า : ช่วยในการค้นหาโอกาสทางภาษีที่อาจเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้ เช่น การใช้หัวงวดภาษีที่มีประสิทธิภาพ, การลงทุนในโครงสร้างทางภาษีที่เป็นประโยชน์, หรือการใช้เทคนิคการลดภาษีตามกฎหมาย
  • สร้างความมั่นคง : การมีที่ปรึกษาภาษีช่วยในการสร้างความมั่นคงในการเงินขององค์กร โดยช่วยให้ผู้เสียภาษีมั่นใจว่าการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเป็นไปได้อย่างถูกต้องและตรวจสอบได้

สรุป"ที่ปรึกษาบัญชีและภาษี" มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรหรือธุรกิจสามารถบริหารจัดการทางการเงินบัญชีและภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีที่ปรึกษาทางภาษีจึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญในการจัดการปัญหาด้านบัญชีการเงิน และด้านภาษีเลยก็ได้ว่า ดังนั้นการมีที่ปรึกษาบัญชีและภาษีอยู่ในองค์กร จึงนับได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการลดค่าใช้จ่ายในภาษีและการเตรียมความพร้อมในการจัดการเงินในระยะยาวให้กับองค์กร

การมีทั้งนักบัญชี และ ที่ปรึกษาบัญชีและภาษีในองค์กรนั้นส่งผลดีต่อองค์กรก็จริง แต่หากมีซอฟต์แวร์บัญชีดีๆ เข้ามาช่วยจัดการให้ทั้งงานบัญชีและภาษีร่วมกันเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัวช่วยคงจะดีไปไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้เราจึงขอแนะนำโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed สำหรับสำนักงานบัญชีที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชียุคใหม่ และนักบัญชียอมรับ พร้อมรองรับการใช้งานสำหรับสำนักงานบัญชีได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการภาษี จัดการงบการเงิน ควบคุมและตรวจสอบภายใน อีกทั้งยังคุ้มค่ากับการลงทุน และช่วยประหยัดเวลาในการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีแบบครบวงจร เข้ามาช่วยจัดการการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น


ข้อมูลอ้างอิง : peakaccount.com, greenproksp.com

หากคุณสนใจโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed สำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชี สามารถลงทะเบียนและอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ลงทะเบียน Demo โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชี

ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับสำนักงานบัญชี ได้ที่
บทความ: www.onlinesoft.co.th
 525
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์