วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ

วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ


เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!!

1.ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาตง่าย ๆ ได้ที่ Click

เพียง กรอกข้อมูล 1. ชื่อ 2. นามสกุล และ 3. เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในระบบตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
  • หากระบบแสดงสถานะ “ปกติ” แปลว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้มีสถานะปกติและสามารถใช้บริการได้
  • หากระบบแสดงสถานะ “ไม่พบข้อมูล” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้อาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต พักใช้ใบอนุญาต หรือ อาจจะไม่ได้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ยังไม่ควรใช้บริการ หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสภาวิชาชีพบัญชีได้โดยตรง
2. ตรวจสอบสถานะสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีง่าย ๆ ได้ที่  Click

  • หากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก”
  • หากไม่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “ไม่เป็นสมาชิก” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือบุคคลนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี  

หมายเหตุ: หากระบบแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก” ไม่ได้หมายความว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” หรือ “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต”


หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อส่วนงานทะเบียน สภาวิชาชีพบัญชี โทรศัพท์ 02-685 2524, 2525, 2529, 2530 หรือ 2532


ที่มา : tfac.or.th
 69
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์