sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้
กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้
กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้
ย้อนกลับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ถามว่า “นักบัญชี” ต้องรู้กฎหมายเหล่านี้จริงหรือ คำตอบคือ ควรจะทราบหลักการและแนวความคิดรวมทั้งหัวข้อต่างๆ และพร้อมที่จะสืบค้นหรืออ้างอิงได้ เมื่อจำเป็นครับ
ผมคิดว่านักบัญชีต้องศึกษาประมวลรัษฎากรอย่างเข้มข้นให้เข้าใจมากกว่ากฎหมายฉบับอื่นๆที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ให้รู้จักกฎหมายภาษีอากรชนิดที่ไม่น้อยกว่าความรู้ทางบัญชีเลยด้วยซ้ำ เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวพันอยู่ชนิดที่เรียกว่า “แยกกันไม่ออก”
ในปัจจุบันเมื่อใดที่กล่าวถึงวิธีการบันทึกบัญชีแล้ว จะต้องตามมาด้วยประเด็นทางภาษีเสมอ บางกรณี หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทางภาษีอากรอาจเป็นจุดที่ต้องทราบก่อนแล้วย้อนกลับมาที่การบันทึกบัญชีเสียด้วยซ้ำ ตัวอย่างคือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง) เช่น ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมัน (ที่ใช้ซ่อมหรือใช้กับรถยนต์นั่ง) ทางภาษีไม่ให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นภาษีซื้อ (เพื่อนำไปหักกับภาษีขาย) กรณีเช่นนี้ การบันทึกบัญชีต้องบันทึกค่าซ่อมแซมโดยรวมยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต่างจากค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ ที่แยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปบันทึกเป็นภาษีซื้อ เป็นต้น
ส่วนกฎหมายฉบับอื่นๆนั้นอย่างน้อยนักบัญชีทุกคนควรได้อ่านผ่านสายตาเอาไว้ให้พอรู้ว่าในกฎหมายฉบับใดกล่าวถึงอะไรบ้าง อาจจะไม่ถึงขั้นเข้าใจลึกซึ้ง แต่ควรที่จะพอรู้และเข้าใจโครงสร้างของกฎหมายนั้นๆไว้ในหัว และมีไว้ในตู้หนังสือพร้อมจะเปิดเพื่อสืบค้นอ้างอิงได้ทันที นอกจากนี้ยังอาจจะทำเป็นแผนภูมิของหัวข้อเอาไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ในเวลาที่ต้องการ
ในคราวนี้จะขอเน้นกล่าวถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ย่อว่า ป.พ.พ.) ก่อนครับ
หากมองอย่างกว้างๆ ไม่ระบุเจาะจงไปที่นักบัญชีแล้ว ผมคิดว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายที่อยู่ใกล้ตัวคนทั่วไปมากที่สุด เพราะมีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเราตั้งแต่เกิดจนตาย เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมต่างๆ การสมรส สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดากับบุตร การทำพินัยกรรมและมรดก การทำมาหากิน การเป็นหุ้นส่วนหรือจัดตั้งบริษัท การจัดการกับทรัพย์สินเงินทอง และหนี้สิน การไปทำสัญญากับบุคคลอื่น และการประกันภัย
ขอเสนอวิธีการอ่านประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะนำไปสู่การทำความเข้าใจ เรียนรู้ อย่างง่ายๆตามประสาคนที่ไม่ใช่นักกฎหมายดังนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีทั้งสิ้น ๖ บรรพ (บรรพ แปลว่า หมวด ภาค หรือตอน) คือ
บรรพที่ 1
หลักทั่วไป มาตรา 4-193 (ประมาณ 224 ข้อ, มาตรา 193 มีถึง 193/35) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ บุคคล นิติบุคคล สมาคม มูลนิธิ ทรัพย์ นิติกรรม ระยะเวลา (เงื่อนไขและเงื่อนเวลา) และอายุความ
บรรพที่ 2
หนี้ มาตรา 194-452 (ประมาณ 258 ข้อ) เกี่ยวข้องกับเรื่องหนี้ สิทธิเรียกร้อง บุริมสิทธิ ลูกหนี้และเจ้าหนี้ การโอนสิทธิเรียกร้อง การชำระหนี้ สัญญา การจัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด
บรรพที่ 3
เอกเทศสัญญา มาตรา 453-1297 (ประมาณ 824 ข้อ, มาตรา 1273 มีถึง 1273/4 และยกเลิกมาตรา 1274-1297 เรื่องสมาคม ที่ย้ายไปอยู่บรรพ 1) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ การเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย (ประกันวินาศภัยและประกันชีวิต) ตั๋วเงิน หุ้นส่วนและบริษัท (ห้างหุ้นส่วน มาตรา 1025-1095, บริษัทจำกัด มาตรา 1096-1273/4)
บรรพที่ 4
ทรัพย์สิน มาตรา 1298-1434 (ประมาณ 136 ข้อ) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ กรรมสิทธิ์ ครอบครอง ภาระจำยอม อาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพที่ 5
ครอบครัวมาตรา 1435-1598/41 (ประมาณ 204 ข้อ, มาตรา 1598 มีถึง 1598/41) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ การสมรส บิดามารดากับบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดู
บรรพที่ 6
มรดก มาตรา 1599-1755 (ประมาณ 156 ข้อ) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก สิทธิในการรับมรดก พินัยกรรม การจัดการมกดก อายุความ
มีข้อสังเกตว่าในบรรพ 3 ลักษณะ 22 จะว่าด้วยบริษัทจำกัดซึ่งในหมวดนี้จะมีจำนวน 178 มาตรา ถือว่าน่าจะเป็นหมวดที่มีจำนวนมาตรามากที่สุดในป.พ.พ. แล้ว วิธีลัดคือ หากหน้าที่งานของเราเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเราก็เจาะอ่านในมาตราที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เช่น หากทำงานในบริษัทประกันภัย ก็เจาะอ่านบรรพ 3 ลักษณะ 20 ซึ่งแบ่งออกเป็นประกันวินาศภัยและประกันชีวิต เป็นต้น หากทำงานเกี่ยวกับเงินๆทองๆหรือเช็ค ก็ต้องอ่านบรรพ 3 ลักษณะ 21 เรื่องตั๋วเงิน (ซึ่งมีทุกประเภทตั้งแต่ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน เช็ค การสลักหลัง การอาวัล)
โดยทั่วไปอย่างน้อยนักบัญชีควรอ่านบรรพ 3 ลักษณะ 22 ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่การจัดตั้งบริษัท การถือหุ้น การจัดการบริษัท ซึ่งได้แก่ กรรมการ การประชุมใหญ่ บัญชีงบดุล เงินปันผลและการตั้งเงินสำรองตามกฎหมาย การสอบบัญชี การเพิ่มทุนและลดทุน การออกหุ้นกู้ (ซึ่งระบุว่าบริษัทจะออกหุ้นกู้ไม่ได้) การเลิกบริษัท การควบบริษัท การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด การชำระบัญชี
เนื้อหาในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนตั้งแต่ การร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (เดิม 7 คนขึ้นไป) เพื่อจัดตั้งบริษัท ลักษณะของหุ้นของบริษัททั้งหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ การตั้งบุคคลมาบริหารงานแทนผู้ถือหุ้น ที่เรียกว่ากรรมการ บทบาทหน้าที่ของกรรมการ เช่น การห้ามมิให้กรรมการประกอบการค้าขายใดๆอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัท เป็นต้น การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการ การประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น การที่บริษัทต้องจัดทำบัญชี การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นไม่ใช่กรรมการบริษัทอย่างที่เข้าใจกัน หากแต่ในทางปฏิบัติกรรมการจะสรรหาผู้สอบบัญชีแล้วเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อลงมติรับรอง การอนุมัติงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี (ซึ่งมักเรียกกันว่าการประชุมผู้ถือหุ้น หรือ Annual General Meeting: AGM) การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (Extraordinary General Meeting: EGM) ข้อกำหนดเมื่อจะจ่ายเงินปันผล (มีทั้งเงินปันผลระหว่างกาลซึ่งจ่ายจากมติกรรมการและเงินปันผลที่จ่ายตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น) การกันเงินสำรองตามกฎหมายไว้ร้อยละ 5 ของกำไรจนกว่าจะครบร้อยละ 10 ของทุน การเลิกบริษัท และการชำระบัญชี ซึ่งหลายๆคนเข้าใจว่าเมื่อจดเลิกแล้วก็จบกัน แต่ในป.พ.พ.ระบุว่า เมื่อเลิกแล้ว บริษัทต้องตั้งผู้ชำระบัญชี (ซึ่งปกติมักจะตั้งผู้ซึ่งเคยเป็นกรรมการให้เป็นผู้ชำระบัญชี) และต้องดำเนินการชำระบัญชี ซึ่งหมายถึง การขายทรัพย์สิน การชำระหนี้สินที่คงค้างอยู่ ณ วันเลิก ให้เรียบร้อย และยื่นรายงานการชำระบัญชีต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงจะถือว่าเสร็จเรียบร้อยตามขั้นตอน เป็นต้น
จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นว่า หากนักบัญชีไม่อ่านป.พ.พ.โดยเฉพาะในบรรพ 3 ลักษณะ 22 แล้ว ก็ยากที่จะเข้าใจหรือจดจำขั้นตอนของการทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละรอบปีอย่างถูกต้อง และมักปฏิบัติไปตามที่เคยชินโดยอาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่มักทำกันไปอย่างผิดๆก็ได้
อ่านบทความนี้จบแล้วนักบัญชีอย่าลืมสละเงินสัก 200 กว่าบาท ไปร้านหนังสือซื้อประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาอ่านกันโดยเฉพาะในบรรพ 3 ลักษณะ 22 เป็นอย่างน้อยครับ ส่วนคนที่ไม่ใช่นักบัญชี ก็ไปซื้อมาอ่านบรรพ 5 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของครอบครัว (อย่างน้อยก็จะได้รู้วิธีทำพินัยกรรม) เชื่อว่าเมื่อได้อ่านแล้วจะรู้สึกว่าเราไม่เคยให้ความสนใจเลยทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเหลือเกิน
บทความโดย
: วิโรจน์ เฉลิมรัตนา
นักบัญชี
บทความบัญชี
ผู้รับทำบัญชี
รับทำเงินเดือน
948
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน
ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี
9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50
9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ
ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้
ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้
"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
แนวทางวางแผน ภาษีนิติบุคคล
แนวทางวางแผน ภาษีนิติบุคคล
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)
5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)
Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้นซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย
กรมสรรพากรมีอำนาจ ยึดทรัพย์ อายัดบัญชีธนาคาร ได้หรือไม่
กรมสรรพากรมีอำนาจ ยึดทรัพย์ อายัดบัญชีธนาคาร ได้หรือไม่
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้ และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com