sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
ย้อนกลับ
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
สำหรับผู้จ่ายเงิน
สามารถจ่ายเงินและยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ครบจบในขั้นตอนเดียว ผ่านระบบออนไลน์
ลดต้นทุนในการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ไม่ต้องออกและจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยสามารถตรวจสอบข้อมูล และดาวน์โหลดหลักฐานการหักภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (ต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากรก่อนการใช้บริการ)
สะดวก ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับกรมสรรพากรด้วยตนเอง และสามารถชำระเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติม ผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนดได้
สามารถตรวจสอบผลการโอนเงิน และการชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากรายงานผ่านช่องทางออนไลน์ (www.rd.go.th) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หากจ่ายเงินโดยใช้ระบบ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะลดเหลืออัตรา 1% (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2566-31 ธันวาคม 2568)
สำหรับผู้รับเงิน
ได้รับการแจ้งรายการโอนเงิน และข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านทางอีเมล (ตามที่ผู้จ่ายเงินได้ระบุไว้ในคำสั่งโอนเงิน)
ไม่ต้องจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยสามารถตรวจสอบข้อมูล และดาวน์โหลดหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (ต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากรก่อนการใช้บริการ)
มีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น จากอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ลดลง ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อผู้จ่ายเงินใช้บริการ e-Withholding Tax
วิธีใช้งาน
1.สมัครขอรับบริการกับธนาคารที่รองรับระบบ E-withholding tax แล้ว
2.เมื่อโอนเงินให้ผู้รับและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ส่งข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของผู้รับด้วย ผ่านระบบโอนเงินของธนาคาร
3.ธนาคารจะทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงินภายในเวลา 4 วัน
4.ทั้งผู้โอนเงินและผู้รับสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ภายใน 6 วัน ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th ของกรมสรรพากร โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ Password ที่เคยยื่นภาษีของระบบ e-Fillng ได้เลย
โดยไม่ต้องสมัครบริการใดๆ เพิ่มเติมอีก
สมัครใช้บริการกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ e-Withholding Tax ได้แล้ว จำนวน 11 แห่ง
สถาบันการเงินที่พร้อมให้บริการแล้ว 9 แห่ง
1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพ
6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
สถาบันการเงินที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบระบบ 2 แห่ง
1. ธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต
2. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
อัตราค่าบริการ
เป็นไปตามที่แต่ละธนาคารกำหนด สูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อรายการโอน 1 ครั้ง
ที่มา : www.itax.in.th,กรมสรรพากร
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
e-Withholding Tax
1249
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าของกิจการ เสียจริงหรือ ?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าของกิจการ เสียจริงหรือ ?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat 7% ทำไมถึงต้องเก็บ ?
รายได้ (income) หมายถึง?
รายได้ (income) หมายถึง?
รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้
ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างไร
ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างไร
ส่วนลดจ่าย หรือค่าลดหย่อน การส่งเสริมการขายแคมเปญการขาย Flexi comBo Flash Sale การขายแบบให้ส่วนลดลูกค้าหลังจากนั้นช่องทางการขายจะโอนส่วนลดที่ให้ลูกค้าคืนกลับให้บริษัท เป็นรายการที่พบเจอได้ตลอดเวลาสำหรับร้านค้า Online ที่ขายสินค้าบน MarketPlaces ต่างๆ ทั้งนี้สรรพากรมีหลักการในการออกส่วนลดให้ปรากฎในใบกำกับภาษีไว้ดังนี้
มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี
มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี
มีเงินเหลือในบริษัทเยอะ ทำอย่างไรดี
เลือกใช้ โปรแกรมเงินเดือน หรือ โปรแกรมบัญชี ให้เหมาะกับธุรกิจคุณ
เลือกใช้ โปรแกรมเงินเดือน หรือ โปรแกรมบัญชี ให้เหมาะกับธุรกิจคุณ
ในปัจจุบัน การบริหารจัดการทางด้านต่อการจัดการการเงินและด้านทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในธุรกิจ และในยุคดิจิตอลนี้ ก็มี software มากมาย ที่เป็นตัวเลือกให้ธุรกิจได้ตัดสินใจเลือกใช้ เพราะแต่ละโปรแกรมก็มี Features แตกต่างกันออกไป หรือบางโปรแกรมก็สามารถทำให้ทั้งสองโปรแกรมนี้ทำงานร่วมกันได้ แล้วจะเลือก
โปรแกรมเงินเดือน
หรือ
โปรแกรมบัญชี
อย่างไรให้เหมาะสมธุรกิจของตัวคุณเองล่ะ? เรามาดูแนวทางกันดีกว่าค่ะ
วิธีจัดแฟ้มเอกสารทางบัญชี ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น 10 เท่า
วิธีจัดแฟ้มเอกสารทางบัญชี ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น 10 เท่า
แฟ้มเอกสารทางบัญชี คือ แฟ้มสำหรับเก็บเอกสารสำคัญเกี่ยวข้องกับงานบัญชี ซึ่งมีความจำเป็นต่อกิจการเป็นอย่างมาก นักบัญชีมักจะต้องข้องเกี่ยวกับเอกสารเหล่านี้อยู่เสมอ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com