รายได้ (income) หมายถึง?

รายได้ (income) หมายถึง?



รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้

รายได้ขององค์กรไม่แสวงหากำไร

รายได้ตามความหมายขององค์กรไม่แสดงหาผลกำไร หมายถึง รายได้ที่มาจากการบริจาคโดยบุคคลและองค์กรต่างๆ รวมถึงรายได้ที่องค์กรภาครัฐให้การสนับสนุน และรายรับจากกิจกรรมการระดมทุน ค่าบำรุงสมาชิก

รายได้ในทางธุรกิจ

รายได้ในทางธุรกิจ หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการหรือองค์กรได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการที่เกิดจากดำเนินงานตามปกติรวมทั้งผลตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติและรายได้ที่ได้รับมักอยู่ในรูปของเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด

ประเภทของรายได้

รายได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายได้จากการขาย (Sale revenue) และรายได้อื่น (Other incomes)

  1. รายได้จากการขาย (Sale revenue) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า หรือบริการอันเป็นรายได้จากการดำเนินงาน เช่น รายได้จากการขายสินค้า และรายได้ที่ได้จากการให้บริการ เช่น รายได้จากการซ่อมเครื่องใช้ หรือรายได้จากการให้บริการล้างอัดฉีดรถยนต์และบริการด้านอื่นๆ
  2. รายได้อื่น (Other incomes) หมายถึง รายได้ที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ ซึ่งไม่ใช่รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการ เช่น รายได้จากการขายวัสดุอุปกรณ์สำนักงานที่ไม่ได้ใช้แล้ว รายได้จากการขายเศษวัสดุเหลือใช้

นอกจากนั้นยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้พิเคราะห์รายได้ของคนเราในแบบต่างๆ พบว่า รายได้มี 2 แบบ คือ รายได้ที่มาจากการทำงาน และรายได้จากทรัพย์สิน

  1. รายได้จากการทำงาน (Active Income) หมายถึง รายได้ที่ต้องทำงานจึงจะได้มา เช่น เงินเดือน รายได้จากการค้าขาย รายได้ของนักแสดง ผู้ใช้แรงงาน รายได้จากการให้บริการ และอื่นๆ
  2. รายได้จากทรัพย์สิน (Recurring income) คือ รายได้ที่มาจากทรัพย์สิน ไม่ได้เกิดจากการทำงานโดยตรง เช่น รายได้จากการถือหุ้น การให้เช่าบ้าน อาคารที่พัก หรือเช่าสถานที่ ค่าสิทธิบัตร ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น

สรุป ความหมายของรายได้ก็คือผลตอบแทนหรือสิ่งที่ได้มาจากการขายสินค้าและบริการในรูปของเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด และรายได้ที่เกิดจากการสนับสนุนขององค์กรภาครัฐ หรือได้มาจากการบริจาคโดยบุคคลและองค์กรต่างๆ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : www.im2market.com

 22536
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ
ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์