บัญชีกระแสรายวันคืออะไร มีข้อดีอย่างไร?

บัญชีกระแสรายวันคืออะไร มีข้อดีอย่างไร?


บัญชีกระแสราย
วัน คือประเภทบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องประกอบกิจการต่างๆ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือพาณิชย์ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยจัดการเรื่องการเงินในเชิงธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ โดยเฉพาะเวลาจะทำการโอนหรือจัดการด้านธุรกิจต่างๆ ด้วยวงเงินจำนวนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นบัญชีเงินหมุนเวียน และใช้ออกเช็คในการเบิกจ่ายเงิน โดยสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชีได้ ซึ่งทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพียงส่วนที่เราเบิกเงินเกินเท่านั้น แต่เป็นประเภทบัญชีที่ไม่ได้รับดอกเบี้ย

ข้อดีของบัญชีกระแสรายวันมีอะไรบ้าง?

  – มีความปลอดภัย เพราะไม่ต้องถือเงินสดจำนวนมากอยู่กับตัว โดยเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อนำไปขึ้นเงินกับทางธนาคาร ซึ่งสามารถให้พนักงานส่งเอกสารไปรับเช็คมาจากลูกค้าได้โดไม่ต้องกังวลหรือกลัวกับการโดนโกง เนื่องจากมีการระบุชื่อและขีดคร่อมบนเช็คไว้อยู่แล้ว
  – มีความสะดวกสบาย ไม่ต้องไปธนาคารเพื่อทำเรื่องขอเบิกเงิน หรือไปกดเงินยังตู้เอทีเอ็มบ่อยๆ
  – สามารถนำเงินมาใช้หมุนเวียนในบริษัทหรือองค์กรได้ ส่วนมากมักนิยมใช้กันในบรรดาผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลาย อีกทั้งยังสามารถสั่งจ่ายเช็คได้ในวงเงินที่ไม่จำกัดอีกด้วย
  – สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ทั้งผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้รับเช็ค เป็นการสร้างเครดิตที่ดีอย่างหนึ่ง
  – ช่วยให้การซื้อ-ขายที่เป็นเครดิตทำได้ง่ายขึ้น อย่างการออกเช็คสั่งจ่ายไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบได้งานได้มากขึ้น โดยหากงานไม่เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้เราก็สามารถสั่งการอายัดเช็คได้ ทำให้เกิดการเจรจาก่อนสั่งจ่ายจริงได้อย่างง่าย
  – สำหรับการค้ำประกันเงินกู้ อย่างเช่น กรณีหมุนเวียนเงินไม่ทัน หรือจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน สามารถขอกู้ยืมเงินสดพร้อมนำเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าไปเพื่อค้ำประกันไว้ก่อนก็นับเป็นอีกจุดเด่นของการฝากเงินแบบบัญชีกระแสรายวันนี้

ดังนั้น หากเรามีธุรกิจหรือประกอบกิจการใดๆ การฝากเงินแบบบัญชีกระแสรายวันเรียกว่าเหมาะมากๆ เพราะทั้งสะดวก ง่าย และมีความปลอดภัยสูงนั่นเอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย: https://www.prosoftibiz.com

 796
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์