sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ทำความรู้จักกับรหัสบัญชี (Account Code) คืออะไร
ทำความรู้จักกับรหัสบัญชี (Account Code) คืออะไร
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ทำความรู้จักกับรหัสบัญชี (Account Code) คืออะไร
ทำความรู้จักกับรหัสบัญชี (Account Code) คืออะไร
ย้อนกลับ
รหัสบัญชี (
Account Code)
คือ ตัวเลขหรือรหัสที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ผังบัญชีขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการและควบคุมทางบัญชี โดยรหัสบัญชีนี้จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกว่า
ระบบบัญชีแยกประเภท (
General Ledger)
เพื่อให้การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเป็นระเบียบช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
รหัสบัญชีทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงประเภทของบัญชีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สินทรัพย์ (Assets), หนี้สิน (Liabilities), ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity), รายได้ (Revenue), หรือค่าใช้จ่าย (Expenses) การใช้รหัสบัญชีจะช่วยให้สามารถแยกประเภทของรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาได้ชัดเจนและถูกต้อง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการตรวจสอบบัญชีและการควบคุมทางการเงินขององค์กร
ส่วนประกอบของรหัสบัญชี
รหัสบัญชีมักจะประกอบไปด้วยตัวเลขหรือตัวอักษร และรหัสสามารถมีโครงสร้างได้หลายรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมของธุรกิจ ซึ่งแต่ละองค์กรอาจมีรูปแบบการจัดหมวดหมู่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนขององค์กร และโดยทั่วไปจะมีการจัดแบ่งเป็น 3-8 หลัก เพื่อบ่งบอกประเภทของบัญชี ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
ประโยชน์ของรหัสบัญชี
1. การจัดระเบียบข้อมูล : รหัสบัญชีช่วยจัดหมวดหมู่ทำให้การบันทึกบัญชีมีความเป็นระบบ ชัดเจน และง่ายต่อการติดตามค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูล
2. ความสะดวกในการตรวจสอบ : ผู้ตรวจสอบบัญชีสามารถใช้รหัสบัญชีเพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะทางการเงินขององค์กรได้รวดเร็วและครบถ้วน เนื่องจากข้อมูลทางบัญชีถูกแยกออกเป็นส่วนๆ
3. การรายงานผลการดำเนินงาน : รหัสบัญชีช่วยให้ผู้บริหารสามารถดึงข้อมูลรายงานการเงินมาวิเคราะห์และรายงานผลการดำเนินงานได้ตามต้องการ เพราะได้มีการแยกรายการรายรับและรายจ่ายในแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน
4. ความถูกต้องในบัญชี : ช่วยลดความเสี่ยงของความผิดพลาดในการบันทึกบัญชี เนื่องจากมีการกำหนดรหัสที่ชัดเจนช่วยลดความสับสนในกระบวนการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละประเภท
บทสรุป
รหัสบัญชีเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการจัดการบัญชีทางการเงินขององค์กร ทำให้การบันทึกข้อมูลการเงินเป็นไปอย่างมีระเบียบ และยังช่วยให้ผู้บริหารหรือผู้ตรวจสอบบัญชีในองค์กรสามารถวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลสถานะทางการเงินได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็น
ขอบคุณที่มา :
Prosoft ibiz
168
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?
ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ
8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีนิติบุคคลมีอะไรบ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการยื่นแก่สรรพากร
ภาษีนิติบุคคลมีอะไรบ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการยื่นแก่สรรพากร
เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร
เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร
อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน
การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ภาษีครึ่งปี สำคัญอย่างไร
ภาษีครึ่งปี สำคัญอย่างไร
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น (9,000-6,000 บาท)
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com