เงินค่ามัดจำ คืออะไร

เงินค่ามัดจำ คืออะไร


เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น

ในทางบัญชี เงิน ค่า มัดจำ คือเกิดจาก การจ่ายเงิน หรือ รับเงิน แต่ยังไม่ได้ให้บริการ หรือส่งสินค้า ให้ได้ครบเต็มจำนวนมูลค่าของสินค้านั้น หรือบางครั้ง จ่ายเงินเต็มจำนวนของมูลค่าหรือสินค้าของบริการนั้นแล้วก็จริง แต่!! สินค้า หรือบริการยังให้ไม่ครบเต็มจำนวน ก็อาจใช้ชื่อบัญชีว่า เงินมัดจำ ในหลักการทางบัญชี ถือเป็น หนี้สิน (รายได้รับล่วงหน้า) ของกิจการ หรือค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าของกิจการ ขึ้นอยู่กับว่า ได้ได้รับมา หรือ จ่ายออกไป

ในทางกฎหมาย คำว่า “มัดจำ” ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว.

ตัวอย่างมัดจำในทางบัญชี

เช่น บริษัท A จำกัด ขายสินค้าให้กับ บริษัท b จำกัด ราคา 10,000 บาท บริษัท B จ่ายชำระ 2000 บาท ให้กับ บริษัท A

ยกตัวอย่างกรณีที่ อาจเป็นการสั่งผลิตหรือของหมด  บริษัท B ต้องการสินค้านี้ บริษัทเอง จึงได้ขอให้จ่ายเงินจองสินค้านี้ก่อน จึงเกิดชื่อบัญชี เงินมัดจำ (ในทางบัญชีถือเป็นรายได้รับล่วงหน้า) จำนวน 2,000 บาท

บึนทึกบัญชี ดังนี้

บริษัท A จำกัด

Dr.เงินสด                 2,000.-

Cr. เงินมัดจำ (รายได้รับล่วงหน้า).       2,000.-

บริษัท B จำกัด

Dr.เงินมัดจำ (รายจ่ายจ่ายล่วงหน้า)         2,000.-

Cr. เงินสด                                                         2,000.-

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ด้วย ว่าคุณใช้ระบบการซื้อสินค้าแบบใด บางครั้ง บริษัท B อาจใช่ชื่อบัญชี ค่าสินค้าจ่ายล่วงหน้า ก็ได้ (ถือเป็นเงินมัดจำเช่นกัน) หรือบริษัท A อาจจะใช้เป็นรายได้รับล่วงหน้าเลยก็ได้ เพราะถือเป็นการ รับเงินล่วงหน้าค่าสินค้า

ผิดสัญญามัดจำ

การผิดสัญญามัดจำ เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายให้จ่ายเงินมัดจำ กับฝ่าย ที่ต้องจ่ายเงินมัดจำ และมีเหตุที่ตทำให้ไม่ได้ซื้อขายกัน มีอะไรบ้าง เช่น จ่ายเงินมัดจำจองบ้าน จ่ายเงินมัดจำจองรถ จ่ายเงินมัดจำค่าสินค้า หรือบริการ เป็นต้น

กรณีผู้จ่ายเงินมัดจำผิดสัญญา

เช่น กรณีเราไปซื้อรถ ซื้อบ้าน บางครั้งอาจมีการให้จ่ายเงินจอง หรือเงินมัดมัดจำ แต่มีเหตุทำให้ไม่ได้ซื้อ หรือซื้อไม่ได้ แต่เกิดจากเราที่เป็นการผิดสัญญา สามารถขอเงินคืนได้หรือไม่?

คำตอบคือได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2563 เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 (ม7) กฎหมายนี้ออกเพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่จ่ายเงินมัดจำแล้วถูกริบเงินมัดจำโดยไม่เป็นธรรม เมื่อมีการขอคืนเงินมัดจำบางส่วนแต่ไม่ได้รับคืนอย่างที่ควรจะเป็น หรือบางครั้งอาจผิดสัญญาเงินมัดจำ โดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ควรได้รับเงินมัดจำคืนบางที่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ผู้รับมัดจำ

การริบเงินมัดจำ

การริบเงินมัดจำได้ จะต้องเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 378 คือ

มาตรา 378 “มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้เป็นไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

  1. ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้
  2. ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
  3. ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ”

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาที่ตกลงกันไว้และหากมีการฟ้องร้องกันจริงก็ต้องดูเอกสาร และข้อกฎหมายอื่น ๆ ประกอบกันอีกด้วย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : LINK
 2184
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
ในบทความนี้ เราจึงมีคำแนะนำดีๆ และเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปสำหรับสำนักงานบัญชี และนักบัญชีมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการการบันทึกบัญชี เก็บรวบรวมเอกสาร สร้างรายงานที่สำคัญ รวมไปถึงการยื่นภาษี และปิดงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์